Abstract:
งานวิจัยเรื่อง การทดสอบความสามารถในการพยากรณ์ผลตอบแทนหลักทรัพย์ และสมมติฐาน
ตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับตัวได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อทดสอบความสามารถในการพยากรณ์และระดับ
ความสามารถในการปรับตัวได้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2) เพื่อทดสอบทฤษฎีการปรับตัวได้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสภาวะตลาดที่แตกต่างกัน และ (3) เพื่อทดสอบเปรียบเทียบการนำทฤษฎีการปรับตัวได้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปใช้สำหรับหลักทรัพย์ที่มีขนาดกิจการแตกต่างกัน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบความสามารถในการพยากรณ์และสมมติฐานตลาดหลักทรัพย์ที่
ปรับตัวได้ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยวิธีการทดสอบ อัตราส่วนความแปรปรวน (Variance Ratio) 3 รูปแบบได้แก่ Lo-Mackinlay Variance Ratio (LMVR) Multiple Variance Ratio (MV) และ Wild Bootstrap Multiple Variance Ratio (WBMV) เพื่อทดสอบความสามารถในการพยากรณ์และผลการศึกษาพบว่า ไม่สามารถพยากรณ์ผลตอบแทนในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ ทั้งก่อนและหลังวิกฤติการณ์ทางการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2007 แต่เมื่อมีการกลุ่มหลักทรัพย์ออกเป็น 3 กลุ่มตามมูลค่าของบริษัทพบว่า กลุ่มหลักทรัพย์ขนาดเล็กไม่มีประสิทธิภาพตามแนวคิด Efficient Market Hypothesis (EMH) และเมื่อทดสอบการปรับตัวได้ของประสิทธิภาพเมื่อเวลาผ่านไปด้วยวิธีการ Rolling Windows พบว่าประสิทธิภาพในแต่ละช่วงเวลาของกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่มีการปรับตัวเมื่อเวลาผ่านไป