Abstract:
คู่มือ “กระบวนการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ ของมหาวิทยาลัยบูรพา” ฉบับนี้ ผู้จัดทำได้เขียนคู่มือนี้ จากประสบการณ์ตรงที่ได้ทำหน้าที่เขียนข่าวและจัดทำข่าวฯ โดยผู้จัดทำ ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ โดยเริ่มจากการกำหนดประเด็นข่าว พร้อมศึกษา และหารายละเอียดข้อมูลข่าวให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนสามารถคิดรูปแบบในการเขียน และนำเสนอข่าวได้ เช่น ข่าวที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงาน รวมถึงการสร้าง Content ข่าวที่น่าสนใจและเป็นจุดขายของมหาวิทยาลัย และข่าวที่กำลังเป็นกระแสสังคม (Content Hot Issue) จากนั้นดำเนินการศึกษาข้อมูลของกิจกรรม/ โครงการต่าง ๆ ที่จะจัดทาข่าวและถ่ายภาพกิจกรรม นำมาประกอบการจัดทำข่าว ซึ่งขั้นตอนนี้นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ จากนั้นผู้จัดทำได้เขียนข่าวให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และรูปแบบที่ถูกต้อง รวมถึงออกแบบและสร้างสรรค์เรื่องราว (Content) ข่าว BUU NEWS โดยจัดทำเป็นผังโครงร่างเรื่องราว (Storyboard) นำเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อขอความเห็นชอบก่อนเผยแพร่ เช่น ใบบอกข่าว (BUU NEWS)/ Facebook / Instagram (IG) e-mail Staff-Student/ Website/ Tiktok ภายหลังจากเสร็จสิ้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้จัดทำได้นำภาพข่าวกิจกรรมจัดเก็บ ในหน้าเว็บไซด์ www.buu.ac.th เพื่อเป็นฐานข้อมูลกิจกรรม จากนั้นผู้จัดทำดำนินการติดตาม และตรวจสอบผล ตอบรับ (Feedback) พร้อมทั้งรายงานและวิเคราะห์ประเมินผลการตอบรับ (Feedback ) ว่าผลการตอบรับ ออกมาดีหรือไม่ดีอย่างไร ถ้าผลการตอบรับดี ให้ดาเนินการกระตุ้นข่าว (Boot Post) ให้เป็นข่าวดัง หรือทำให้เป็น Viral (ไวรัล) ที่กาลังเป็นกระแสหรือถูกพูดถึงในโลกออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย แต่ผลการตอบรับไม่ดี ให้ดาเนินการวางแผนตั้งรับในการแก้ปัญหาจัดการกระแสนั้น ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพาว่าด้วยหลักเกณฑ์การให้ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพา และสุดท้ายนำเสนอรายงานผลต่อผู้บริหาร เป็นรายข่าวถือเป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ