DSpace Repository

การสกัดและการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากวัตถุดิบสารมัธยันต์และผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้องไทย (Oryza sativa L.) .

Show simple item record

dc.contributor.author กรองจันทร์ รัตนประดิษฐ์ th
dc.contributor.author สมจิตต์ ปาละกาศ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:50Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/902
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางเภสัชของสารสกัดจากข้าวไทยของสารสกัดจากข้าวกล้องหอมมะลิแดง (Oryza sativa L.) ข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) สารมัธยันต์ หรือน้ำหมักและน้ำส้มสายชูหมักด้วยข้าวเหนียวดำ ในเบื้อต้นได้นำสารสกัดจากวัตถุดิบและน้ำหมักข้าวกล้องหอมมะลิแดง และข้าวเหนียวดำมาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยใช้อนุมูล DPPH และอนุมูล ATBS+ พบว่า สารสกัดเอทานอลของน้ำแช่ข้าวกล้องหอมมะลิแดงและข้าวเหนียวดำ สามารถกำจัดอนุมูลทั้งสองชนิด ได้ดี แต่มีปริมาณสารต้านอนุมูล ABTS มีค่าสูงกว่าปริมาณสารต้านอนุมูล DPPH โดยน้ำแช่ข้าวเหนียวดำมีปริมาณสารต้านอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS + สูงที่สุดคิดเป็น 564.40+-53.07 และ 1369+-41.68 ไมโครโมลโทรลอกซ์ต่อกรัมของสารสกัดตามลำดับ ส่วนการทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วยข้าวเหนียวดำโดยแบคทีเรียน้ำส้ม จำนวน 3 ชนิด พบว่า สารสกัดจากน้ำส้มสายชู A.aceti TISTR 1074 และ A. aceti TISTR 103 มีความสามารถในการกำจัดอนุมูล DPPH และอนุมูล ABTS+ ใกล้เคียงกัน เมื่อนำสารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วย A . aceti ทั้ง 2 สายพันธุ์ที่เลี้ยงในแอลกอฮอล์เริ่มต้นต่างกัน มาทดสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากน้ำส้มสายชูหมักด้วย A.aceti TISTR 1074 และ A. aceti TISTR 103 ที่หมักด้วยแอลกอฮอล์เริ่มต้น 8 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการต้นอนุมูล DPPH และ ABTS+ สูงสุดตามลำดับ จากผลการทดสอบในนำสารสกัดเอทธานอลของน้ำแช่ข้าวและสารสกัดเอทิลอะซิเทตของน้ำหมักข้าวทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุมูล DPPH และ ABTS+ มาทดสอบฤทธิ์ในารยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับชนิด Chang cells และเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RM cells CL6 cells พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเทตของน้ำหมักข้าวเหนียวดำมีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเวลลืมะเร็งสูงสุด แต่มีประสิทธิภาพไม่สูงนัก th_TH
dc.description.sponsorship สนับสนุนโดย งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2551 จากมหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject น้ำส้มสายชู th_TH
dc.subject แอนติออกซิแดนท์ th_TH
dc.subject สารสะกัดจากพืช th_TH
dc.subject อนุมูลอิสระ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.title การสกัดและการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากวัตถุดิบสารมัธยันต์และผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้องไทย (Oryza sativa L.) . th_TH
dc.title.alternative Extraction and evaluation of antioxidant and phamacological activities of extracts from raw materials, intermediate and fermented vinegar product derived from unpolished Thai rice (Oryza satival L.). en
dc.type Research th_TH
dc.year 2551


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account