DSpace Repository

ลักษณะทางพันธุกรรมของปลาการ์ตูน (Amphiprion spp.) จากบริเวณหมู่เกาะแสมสาร: พันธุศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์

Show simple item record

dc.contributor.author ชูตา บุญภักดี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:50Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:50Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/901
dc.description.abstract การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของปลาการ์ตูนที่แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะแสมสาร อ. สัตหีบ จ.ชลบุรี สำรวจพบจำนวน 2 ชนิด คือ ปลาการืตูนอานม้า (Amphiprion polymnus) และปลาการ์ตูนอินเดียนแดง (A. perideraion) เมื่อทพการศึกษาจำนวนโครโมโซมและคาริโอไทป์กับปลาการ์ตูนอานม้าโดยเตรียมโครโมโซมจากเหงือกและลำไส้แล้วย้อมด้วยสีจิมซา 10% พบว่าปลาการ์ตูนอานม้ามีจำนวนโครโมโซมดิพพลอยด์ (2n) เท่ากับ 48 ประกอบด้วยโครโมโซมแบบเมทาเซนตริก (metacentric) จำนวน 16 แท่ง โครโมโซมแบบสับเมตาเซนตริก (submetacentric) จำนวน 24 แท่ง และโครโมโซมแบบอะโครเซนตริก (acrocentric) จำนวน 8 แท่ง มีสูตรคาริไทป์เป็น 2n=48; 16m+24sm+Ost+8a ผลจากการศึกษาวิธีการสกัดดีเอ็นเอที่เหมาะสมจากซี่ครีบของปลาการ์ตูนอานม้าที่เก็บรักษาด้วยวิธีแช่แข็งและในเอทานอล 100% โดยเปรียบเทียวิธีการสกัดดีเอ็นเอ จำนวน 4 วิธีคือ 1) ชุดสกัดสำเร็จรูป GF-1 tissue DNA extraction kit, 2) PCR-ready genemic DNA, 3) Chloroform และ 4) Guanidine Thiocyanate พบว่าวิธี PCR-ready genomic DNA เป็นวิธีที่เหมาะสม ใช้เนื้อเยื่อปริมาณน้อย มีขั้นตอนการสกัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น และไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป้นอันตราย ได้ดีเอ็นเอที่สามารถนำไปใช้เพิ่มจำนวนด้วยเทคนิคพีซีอาร์ในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ จึงเหมาะสมสำหรับการศึกษาที่ต้องใช้จำนวนตัวอย่างมาก ผลการศึกษาลักษณะความแปรผันทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนทั้งสองชนิดด้วยเทคนิค PCR-RFLP โดยศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีนบนไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอ (cytochrome b และ ND4/ND 5) และในนิวเคลียร์ดีเอ็นเอ (ITS1) พบว่าแต่ละยีนที่ศึกษามีความจำเพาะกับชนิดของปลาการ์ตูน คือในปลาการ์ตูนอานม้าพบความแตกต่างของรูปแบบดีเอ็นเอ PCR-RFLP เมื่อตรวจสอบบริเวณ ITS1 ของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอ แต่ไม่พบความแตกต่างในยีนบนไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอทั้งจากบริเวณ ND4/ND5 และยีน cytochrome b แต่เมื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนอินเดียนแดง พบความแตกต่างของรูปแบบ PCR-RFLP ทั้งในส่วนของยีน cytochrome b และบริเวณ ITS1 จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ITS1 ของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอมีความเหมาะสมสำหรับการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของปลาการ์ตูนทั้งสองชนิด th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย งบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2550-2551 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา - - พันธุศาสตร์ th_TH
dc.subject ปลา - - เชื้อพันธุ์ th_TH
dc.subject ปลาการ์ตูน th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ลักษณะทางพันธุกรรมของปลาการ์ตูน (Amphiprion spp.) จากบริเวณหมู่เกาะแสมสาร: พันธุศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2551


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account