dc.contributor.advisor | เทพศักดิ์ ทองนพคุณ | |
dc.contributor.advisor | ภรดี พันธุภากร | |
dc.contributor.author | สุวดี ประดับ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-06-06T04:25:56Z | |
dc.date.available | 2023-06-06T04:25:56Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8865 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภูมิปัญญาศิลปะบาติกของประเทศในกลุ่มอาเซียน จัดกลุ่มตามหลักภูมิศาสตร์ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน และกลุ่มภาคพื้นสมุทรจากศิลปะบาติก จำนวน 120 ผลงาน (2) วิเคราะห์สังเคราะห์ศิลปะบาติกในด้านเนื้อหาเรื่องราว รูปแบบการถ่ายทอดลวดลาย วัสดุอุปกรณ์ เทคนิคกระบวนการ สี และความหมายของลวดลาย (3) สร้างสรรค์ศิลปะบาติก ชุด บากติกอาเซียน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ศิลปะบาติกเป็นวัฒนธรรมร่วมของชาวอาเซียนได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) มีวิธีทำคือใช้ขี้ผึ้งวาดลวดลายนำไปย้อมหรือระบายสี ลวดลายที่พบมากของกลุ่มอินโดจีน คือ ธรรมชาติและเรขาคณิต กลุ่มภาคพื้นสมุทร คือ ธรรมชาติและวิถีชีวิต โดยมีการถ่ายทอด 3 รูปแบบ คือ แบบเหมือนจริง อุดมคติ และนามธรรม ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบศิลปะสมัยใหม่ วัสดุอุปกรณ์ มีผ้าฝ้าย ขี้ผึ้ง ปากกา (Tjanting) เป็นหลัก รองลงมา มีบล็อกพิมพ์ เทคนิคที่ใช้ คือ ย้อมและระบายสี ใช้สีเดียวและหลายสี แบบกลมกลืนมากกว่าสีที่ตัดกันรุ่นแรง และลวดลายดั้งเดิมจะสื่อความหมายมากกว่าลวดลายที่สร้างใหม่ ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มใช้เทคนิคและลวดลายคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเชื้อชาติ ศาสนาและการเผยแพร่ศิลปะบาติกสู่ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน โดยได้สังเคราะห์บาติกอาเซียนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ธรรมชาติ วรรณคดีรามายณะ วิถีชีวิต ศาสนา และการสื่อสารในยุคปัจจุบัน นำมาสร้างสรรค์ โดยใช้ผ้าปักลายลูกไม้และลายที่เกิดจากการสังเคราะห์ ผ้าฝ้ายพื้นสี ผ้าปาเตะพิมพ์ลาย และผ้าไหมจีน เทคนิคการผสมผสานโดยย้อมสีธรรมชาติย้อมทับด้วยสีสังเคราะห์ ระบายสี วาดด้วยปากกาเขียนผ้า สีทอง พ่นสี และปักด้วยไหมปัก ผลที่ได้คือลักษณะของผลงานมีความแปลกใหม่ เนื่องจากลวดลายมีลักษณะ 3 มิติ จากการปัก และการวาดด้วยปากกาซ้อนอยู่ด้านในลวดลาย และปรากฏกลุ่มสีพาสเตลที่เกิดจากการย้อมสีธรรมชาติ และสีสังเคราะห์ มีลักษณะอ่อนหวาน สีไม่ฉูดฉาด ดูสบายตา นับเป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะบาติกอีกรูปแบบหนึ่ง และสามารถนำไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ได้ต่อไป | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.subject | บาติก | |
dc.subject | สีย้อมและการย้อมสี | |
dc.title | บาติกอาเซียน : การสร้างสรรค์ด้วยการผสมผสานจากศิลปะบาติกแห่งอาเซียน | |
dc.title.alternative | Asen btik : cretivity in btik rt integrtion of sen countries | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1. To study wisdom on batik art in ASEAN countries classified by their geographical location into 2 groups, namely Mainland Southeast Asia or Indo-China and Island Southeast Asia, based on 120 batik works, 2. To analyze and synthesize the batik art in terms of its contents, stories, designs, materials, tools, processing techniques, colors and design meanings and 3. To create a set of batik art called "ASEAN Batik". The research showed that the batik art has been a common culture of ASEAN people and it has been registered as a cultural heritage by UNESCO. The batik works were created by using wax pen to draw various patterns thereon before dyeing or coloring. For Indo-China's batik works, the designs made in the way of natural and geometrical theme were found a lot while the designs regarding natural and lifestyle patterns were found in Island Southeast Asia's batik works. The meaning transferring concepts were divided into 3 ways, including realism, ideal and abstract, both in the traditional and modern form. The main materials used to create the batik works consisted of cotton fabrics, waxes, Tjanting and auxiliary tools including printing blocks. The works were made by techniques of dyeing and coloring, whether in single or multiple colors. The harmonious colors were often used more than strongly contrastive colors. The traditional patterns were more meaningful than newly created one. Both groups of batik works were created by means of similar techniques and designs due to people's race, religion and way of batik art publicity in ASEAN countries. Furthermore, Asian batik works were synthesized and divided into 5 themes, namely nature, local literature called Ramayana, lifestly, religion and today communication. These themes were created on the fabrics on which lace patterns were embroidered and other patterns derived by means of synthesis were drawn, the colored cotton fabrics, the pattern printed batiks and Chinese silk fabrics. The combined techniques, namely dyeing that the work pieces were dyed by natural colors and dyed over by synthetic colors, paint, drawing by fabric pen, golden color, color paint brushing and silk embroidering. By these techniques, the works were unique and novel. There were Three-dimensional designs derived by embroidering and underlying pen drawing. Moreover, they were made in pasted colors resulted by the natural and synthetic dyeing. This kind of colors was sweet, mellow, soft and suitable for creating other new forms of batik art. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ทัศนศิลป์และการออกแบบ | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |