Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จำนวน 400 คน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 46.4 ปี โดยมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ย 7.8 ชั่วโมง/วัน ประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 5.7 ปี ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.5 ไม่มีประวัติกรรมพันธุ์เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งร้อยละ 92.0 ไม่เคยสูบบุหรี่เลยร้อยละ 91.5 และไม่เคยดื่มสุราร้อยละ 85.7 ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับสูงผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.001) โดยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีสถิติที่ระดับ (p<0.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพเชิงรุก เช่น รณรงค์สื่อสารอันตรายจากการรับสัมผัสสารก่อมะเร็ง แนะนำวิธีการป้องกันอันตรายจากสารก่อมะเร็ง จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีส่วนบุคคลแก่กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพ และแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่ถูกชนิดถูกวิธี รวมทั้งควรจัดให้มีการบริการด้านสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว เป็นต้น