DSpace Repository

การใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

Show simple item record

dc.contributor.author สมบูรณ์ เจตน์จำลอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:47Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/87
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ และเพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยกลุ่มประชากรเป็นนิสิตภาคปกติ วิชาเอกและวิชาโทภาษาอังกฤษ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 212221 ไวยากรณ์และการเขียน (Structure) หลักสูตรปริญญาตรีของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2543 จำนวน 67 คน ในการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบ Post Test เพื่อทดสอบการเขียนภาษาอังกฤษด้านโครงสร้างประโยคพื้นฐาน องค์ประกอบของประโยค การเขียนประโยคและข้อความสั้นๆเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ของกลุ่มประชากรก่อนและหลังการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยนำแบบทดสอบทั้ง 2 ชุด ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และนำมาหาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนก จากนั้นจึงนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรทั้ง 67 คน ในระหว่างการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ นิสิตต้องเขียน E-mail ติดต่อกับเจ้าของภาษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แล้วส่งสำเนาให้ผู้วิจัย ผู้วิจัยจะบันทึกจำนวนครั้งที่การติดต่อทาง E-mail ประสบความสำเร็จ รวมทั้งรวบรวมข้อความที่นิสิตใช้ติดต่อทาง E-mail ด้วย จากนั้น นำข้อมูลจากแบบทดสอบวิเคราะห์ สถิติที่ใช้คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ส่วนการดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษนั้น ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม นำไปทดลอง ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรจำนวน 67 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 64 ชุด คิดเป็นร้อยละ 95.52 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สถิติที่ใช้คือค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ปรากฎว่านิสิตมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเขียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. จากการศึกษาทัศนคติที่มีต่อการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ปรากฎว่านิสิตมีทัสนคติที่ดีต่อการใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถนำความรู้ที่เรียนไปใช้ติดต่อสื่อสารได้ทันที ทำให้ชอบการเขียนมากขึ้น ทำให้การเรียนไวยากรณ์และการเขียนไม่น่าเบื่อ นอกจากนี้ยังไรับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม คำศัพท์ และสำนวนมากขึ้น th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การศึกษากับเทคโนโลยี th_TH
dc.subject จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ th_TH
dc.subject ภาษาอังกฤษ - - การเขียน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การใช้ E-mail เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ th_TH
dc.title.alternative E-mail implementation in developing English writing skills en
dc.type Research
dc.author.email somboon@buu.ac.th
dc.year 2543
dc.description.abstractalternative This study investigated whether the application of E-mail encouraged students' English writing skills and their attitudes towards using e-mail to improve writing. The population consisted of 67 undergraduate students, English majors and minors and minors who studied Structure (212221) in the Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University, Chon Buri, in the 2000 academic year. The study was based on the pre test, and the post test to evaluate the students'abilities in writing simple-structured sentence, using sentence componants, creating short sentences or paragraphs in different situations, and implementing capitalization and punctuation. After being tried out, the pre test were employed to collect data from the population before and after the e-mail implementation in developing English writing skills conecutively en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account