Abstract:
การวิจัยเรื่อง “แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ทรัยโมทีฟ เอเชียแปซิฟิค จำ กัด” เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้การสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานบริษัท จำนวน 170 รายและการสัมภาษณ์ผู้บริหารเกี่ยวกับแนวทางการบริหารงานทรัพยากรบุคคลในอนาคต ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis: MRA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุไม่เกิน 30 ปี สถานภาพโสด ตำแหน่งงานพนักงานระดับผู้ปฏิบัติงาน มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีสังกัด คือ ฝ่ายผลิต มีรายได้ระหว่าง 15,001-25,000 บาท มีระยะเวลาในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี มีความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแปรปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานในยคุ Thailand 4.0 ที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยมากที่สุด คือความคล่องตัว ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศอายุสถานภาพ ตำแหน่งงาน ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน จะมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านความสำเร็จของงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือและด้านความก้าวหน้า ส่วนปัจจัยค้ำจุนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ได้แก่ ด้านเงินเดือน/ ค่าตอบแทน ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านนโยบายและการบริหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำ งาน ได้แก่ ด้านความโปร่งใส ด้านการแบ่งปัน ด้านการใช้ข้อมูลขับเคลื่อน และด้านความคล่องตัว