Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา เพื่อศึกษาถึงเนื้อหาหลักสูตรพร้อมพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและวิธีการศึกษาของนักเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นตำรวจของอาเซียน โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed methods research) จากการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ และทำการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) จำนวน 11 ท่าน และทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบการศึกษาไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีจนถึงพันตำรวจตรี จำนวน 416 นาย พบว่า กลุ่มวิชาการเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนี้ คือ กลุ่มวิชาการบริหารนั้น พบว่า ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลอาชญากรรม วิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ เพื่อวางเป้าหมาย และเขียนแผนงานให้เป็นระบบกลุ่มวิชากฎหมาย พบว่า ต้องพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต กลุ่มวิชาสืบสวนสอบสวน เน้นเรื่องการหาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้ความสำคัญ กับการตรวจสถานที่เกิดเหตุและจิตวิทยาในการสอบถาม กลุ่มวิชาป้องกันปราบปราม พบว่า ควรเน้นความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดลอมของชุมชนเพื่อลดปัญหาอาชญากรรม และสร้างแนวร่วมชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึง เสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มวิชาจราจร พบว่า ควรสอนเทคนิคการบังคับใช้กฎหมายคดีจราจรเพื่อลดข้อพิพาทบนท้องถนน และการจัดการบริหารสถานที่เกิดเหตในคดีจราจรรวมทั้งทักษะการวิเคราะห์คดีในการปรับใช้ข้อกฎหมาย การสอบสวนคดีจราจร กลุ่มวิชาภาษาการพัฒนาทักษะทางภาษามีความสำคัญมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานจริงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องมีการต่อยอดองค์ความรู้เฉพาะทางด้านตำรวจและมีกิจกรรมการสอนภาคบังคับแบบ English program เป็นภาคบังคับให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจทุกชั้นปีและมีการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนจบไปทำงานจริง กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์พบว่า จิตวิทยาตำรวจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์สอดคล้องกับทัศนคติตามกฎหมายเพื่อให้ตำรวจ มีทักษะการใช้ชีวิต และสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการพบปะกับประชาชน กลุ่มวิชาการฝึก พบว่า ควรเน้น เรื่องภาวะผู้นำเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผนทางยุทธวิธีที่สามารถปรับใช้กับ สถานการณ์ที่หลากหลายด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนควรจัดสภาพห้องเรียนจำลองการฝึกให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ปฏิบัติเสมือนจริง และควรมีการพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) สามารถเสริมข้อมูลและความรู้ใหม่ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในกิจกรรมการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจและมีการบูรณความรู้ระหว่างครูกับ นักเรียนอย่างต่อเนื่อง