DSpace Repository

การพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสู่ตำรวจอาเซียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทักษญา สง่าโยธิน
dc.contributor.author พีรพล เสลารัตน์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:07:06Z
dc.date.available 2023-06-06T04:07:06Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8620
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษา เพื่อศึกษาถึงเนื้อหาหลักสูตรพร้อมพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยตำรวจและวิธีการศึกษาของนักเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นตำรวจของอาเซียน โดยผู้วิจัยได้ทำการวิจัย แบบผสานวิธี (Mixed methods research) จากการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ และทำการสนทนาแบบกลุ่ม (Focus group) จำนวน 11 ท่าน และทำการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบการศึกษาไปแล้วอย่างน้อย 1 ปีที่มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีจนถึงพันตำรวจตรี จำนวน 416 นาย พบว่า กลุ่มวิชาการเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยและกลุ่มประเทศในอาเซียน ดังนี้ คือ กลุ่มวิชาการบริหารนั้น พบว่า ต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลอาชญากรรม วิเคราะห์ข้อมูลในพื้นที่ เพื่อวางเป้าหมาย และเขียนแผนงานให้เป็นระบบกลุ่มวิชากฎหมาย พบว่า ต้องพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายการทำธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เน็ต กลุ่มวิชาสืบสวนสอบสวน เน้นเรื่องการหาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตให้ความสำคัญ กับการตรวจสถานที่เกิดเหตุและจิตวิทยาในการสอบถาม กลุ่มวิชาป้องกันปราบปราม พบว่า ควรเน้นความรู้เกี่ยวกับการปรับสภาพแวดลอมของชุมชนเพื่อลดปัญหาอาชญากรรม และสร้างแนวร่วมชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึง เสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มวิชาจราจร พบว่า ควรสอนเทคนิคการบังคับใช้กฎหมายคดีจราจรเพื่อลดข้อพิพาทบนท้องถนน และการจัดการบริหารสถานที่เกิดเหตในคดีจราจรรวมทั้งทักษะการวิเคราะห์คดีในการปรับใช้ข้อกฎหมาย การสอบสวนคดีจราจร กลุ่มวิชาภาษาการพัฒนาทักษะทางภาษามีความสำคัญมาก เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องมีความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานจริงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องมีการต่อยอดองค์ความรู้เฉพาะทางด้านตำรวจและมีกิจกรรมการสอนภาคบังคับแบบ English program เป็นภาคบังคับให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจทุกชั้นปีและมีการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนจบไปทำงานจริง กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์พบว่า จิตวิทยาตำรวจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์สอดคล้องกับทัศนคติตามกฎหมายเพื่อให้ตำรวจ มีทักษะการใช้ชีวิต และสร้างบุคลิกภาพที่ดีในการพบปะกับประชาชน กลุ่มวิชาการฝึก พบว่า ควรเน้น เรื่องภาวะผู้นำเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์และการวางแผนทางยุทธวิธีที่สามารถปรับใช้กับ สถานการณ์ที่หลากหลายด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนควรจัดสภาพห้องเรียนจำลองการฝึกให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ปฏิบัติเสมือนจริง และควรมีการพัฒนาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) สามารถเสริมข้อมูลและความรู้ใหม่ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในกิจกรรมการเรียนของนักเรียนนายร้อยตำรวจและมีการบูรณความรู้ระหว่างครูกับ นักเรียนอย่างต่อเนื่อง
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หลักสูตร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
dc.subject หลักสูตร -- การพัฒนา
dc.title การพัฒนาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจสู่ตำรวจอาเซียน
dc.title.alternative The development of police cdet progrm for sen police
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the content of the curriculum and develop the curriculum of the police cadet program for ASEAN Police Officers. The researcher used Mixed Methods Research. To Qualitative Research, there was the analysis of interviews from experts and focus group discussions were conducted with 11 participants. To quantitative research, the data were collected from the sample group consisting of 416 police officers who graduated from the Royal Police Cadet Academy for at least one year and whose title was from Police Sub-Lieutenant toPolice Major. It was found that obstacles in the operation of Thai police in Thailand and in ASEAN countries were as follows: In management subject matter, there should be Crime Information Management and Administration, Area Data Analysis for Goal Setting, and Systematic Plan Writing. In Law subject matter, it is necessary to develop legal knowledge on Internet transactions. In investigative subject matter, the focus should be on finding computer and internet evidence, the location of the scene, and psychology in investigation. In prevention and suppression subject matter, knowledge about the adjustment of the community environment to reduce crime and the creation of community alignment in solving social problems should be emphasized. Moreover, police cadets should be provided with problem solving skills and first aid skills. In traffic subject matter, traffic law enforcement techniques should be taught to reduce road traffic disputes, and management of traffic accident scenes as well as case analysis skills for the traffic law should also be taught. In language subject matter, development of language skills is very important. Police officers must be ready to work effectively in their duty. There is a need to increase the knowledge of the police and compulsory courses should be taught in English for students of every year. In addition, there should be exit exam of English knowledge for the police students before graduation. In humanities subject matter, it is found that police psychology in behavior change is important for police officers to understand the men’s nature and needs and the subject should be in accordance with legal attitudes. This subject also helps the police cadets to have skills and good personality to live and to meet people. In training subject matter, the focus should be on leadership, thinking skills and strategic planning and these subjects should help them to be able to adapt to a variety of situations. To the learning environment, there should be simulation so that the police cadets can practice the virtual reality. Moreover, online teaching should be developed because it can supplement the information and knowledge for continuous learning activities. There is also integration of knowledge between teachers and students.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การจัดการสาธารณะ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account