Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท กลไก และกระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทสําคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้นจาก กระแสโลกาภิวัตน์หลังการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2532-2534 มีผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาของระบบทุนนิยม อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกรัฐบาลไทยในยุคพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จากสนามรบเป็นสนามการค้า ในปี พ.ศ. 2533 ส่งผลให้กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นตามแนวชายแดนจังหวัดตราดและจังหวัด เกาะกงสามารถขับเคลื่อนได้อย่างก้าวหน้า 2. กลไกที่สําคัญในการสะสมทุนเบื้องต้น ได้แก่ กลไกลของรัฐไทย ทั้งกลไกทางด้านเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการออกมาในรูปแบบการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรีและตราดและในรูปของจุดผ่านแดนจุดผ่านแดนหลายรูปแบบในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราด อันนําไปสู่การเกิดขึ้นมาของการค้าชายแดนทั้งรูปแบบที่ถูกกฎหมายและรูปแบบที่ไม่ถูกกฎหมาย และกลไกของรัฐบาลแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลส่วนกลางสามารถเข้าไปปกครองดินแดนทั้งหมดในประเทศได้การใช้รัฐบาลแห่งชาติทั้งสองประเทศก็คือรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทย ได้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสะสมทุนทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติดังพื้นที่ที่เห็นได้ชัดก็คือ ชายแดนจังหวัดตราด ในกรณีของกลุ่มทุนเสี่ยพัด สุภาภา ผู้ใช้ทั้งกลไกของรัฐกัมพูชาและรัฐไทย โดยผ่านการสร้างเครือข่ายในเชิงอุปถัมภ์กับผู้นําทางการเมืองในฝ่ายรัฐบาลของทั้งสองประเทศ 3. กระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยม พบว่า มีพลวัตรอยู่ในกระบวนการสะสมทุน เบื้องต้นเป็นหลัก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมทุนในธุรกิจสีดําไปสู่ธุรกิจสีเทา และเป็นธุรกิจสีขาวในปัจจุบัน ความพยายามในการแปลงสภาพจากการสะสมทุนเบื้องต้นไปสู่การสะสมในลักษณะทุนนิยม ปรากฏให้เห็นเด่นชัดจากการทําการเกษตรขนาดใหญ่ (Plantation) แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลวัตในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นจากธุรกิจสีดําไปสู่ธุรกิจสีเทาและธุรกิจสีขาวในบริเวณชายแดนจังหวัดตราดและจันทบุรีนั้น เริ่มต้นจากการค้าของเถื่อน ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย และเป็นธุรกิจแรกที่นํามาสู่การสะสมทุนต่อมาก็ได้พัฒนาไปสู่การผูกขาดสัมปทานของรัฐบาลกัมพูชา เช่น การสัมปทานบุหรี่ต่างประเทศ การสัมปทานขุดทรายในแม่น้ำคางคืน จังหวัดเกาะกง การสัมปทานทําเหมืองพลอย การตัดไม้รวมถึงการตั้งบ่อนคาสิโนในเขตปกครองพิเศษ ในขณะเดียวกันก็จะมีธุรกิจการฟอกเงินที่แอบแฝง กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในช่วงสุดท้าย เป็นกรณีของเสี่ยพัดที่ต่อจากธุรกิจสีดําและสีเทา ก็คือ ธุรกิจโรงแรมเกาะกง ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจสีขาวที่รองรับนักท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมโดยตรง เนื่องจากการแสวงหาผลประโยชน์ของเสี่ยพัดได้มาจากการขูดรีดแรงงานของพนักงานโรงแรมโดยตรง แต่เกิดจากการผูกขาดการทําธุรกิจโรงแรมในเขตชายแดนเกาะกงที่อยู่ตรงข้ามจังหวัดตราด ในการวิเคราะห์ถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จาการวิจัย พบว่า กระบวนการสะสมทุนในพื้นที่ชายแดนของฝั่งทะเลตะวันออก ในจังหวัดตราดและจันทบุรีนั้น มีลักษณะของการสะสมทุนเบื้องต้น เป็นหลักการสะสมทุนเบื้องต้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสะสมทุนในระบบทุนนิยม จะพบความแตกต่างได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ กระบวนการสะสมทุนในระบบทุนนิยมเป็นกระบวนการนํามูลค่าส่วนเกินมาลงทุนเพิ่มลงไปบนทุนที่มีอยู่เดิม เพื่อแสวงหามูลค่าส่วนเกินมาให้มากขึ้นอีก ดังนั้นจึงเป็นการขูดรีดหรือเอาเปรียบกัน โดยใช้กลไกทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ในขณะที่การสะสมทุนเบื้องต้นนั้น จะใช้กลไกที่นอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจ เป็นหลัก เช่น การใช้อํานาจรัฐ การใช้อิทธิพล การผูกขาดเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงกลไกทางการค้าและการบริการ