DSpace Repository

กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
dc.contributor.author จุฑามาศ ชูสุวรรณ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:02:26Z
dc.date.available 2023-06-06T04:02:26Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8611
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท กลไก และกระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทสําคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้นจาก กระแสโลกาภิวัตน์หลังการล้มสลายของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2532-2534 มีผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาของระบบทุนนิยม อย่างแพร่หลายไปทั่วโลกรัฐบาลไทยในยุคพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน จากสนามรบเป็นสนามการค้า ในปี พ.ศ. 2533 ส่งผลให้กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นตามแนวชายแดนจังหวัดตราดและจังหวัด เกาะกงสามารถขับเคลื่อนได้อย่างก้าวหน้า 2. กลไกที่สําคัญในการสะสมทุนเบื้องต้น ได้แก่ กลไกลของรัฐไทย ทั้งกลไกทางด้านเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการออกมาในรูปแบบการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรีและตราดและในรูปของจุดผ่านแดนจุดผ่านแดนหลายรูปแบบในเขตจังหวัดจันทบุรีและตราด อันนําไปสู่การเกิดขึ้นมาของการค้าชายแดนทั้งรูปแบบที่ถูกกฎหมายและรูปแบบที่ไม่ถูกกฎหมาย และกลไกของรัฐบาลแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลส่วนกลางสามารถเข้าไปปกครองดินแดนทั้งหมดในประเทศได้การใช้รัฐบาลแห่งชาติทั้งสองประเทศก็คือรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทย ได้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสะสมทุนทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติดังพื้นที่ที่เห็นได้ชัดก็คือ ชายแดนจังหวัดตราด ในกรณีของกลุ่มทุนเสี่ยพัด สุภาภา ผู้ใช้ทั้งกลไกของรัฐกัมพูชาและรัฐไทย โดยผ่านการสร้างเครือข่ายในเชิงอุปถัมภ์กับผู้นําทางการเมืองในฝ่ายรัฐบาลของทั้งสองประเทศ 3. กระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยม พบว่า มีพลวัตรอยู่ในกระบวนการสะสมทุน เบื้องต้นเป็นหลัก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมทุนในธุรกิจสีดําไปสู่ธุรกิจสีเทา และเป็นธุรกิจสีขาวในปัจจุบัน ความพยายามในการแปลงสภาพจากการสะสมทุนเบื้องต้นไปสู่การสะสมในลักษณะทุนนิยม ปรากฏให้เห็นเด่นชัดจากการทําการเกษตรขนาดใหญ่ (Plantation) แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลวัตในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นจากธุรกิจสีดําไปสู่ธุรกิจสีเทาและธุรกิจสีขาวในบริเวณชายแดนจังหวัดตราดและจันทบุรีนั้น เริ่มต้นจากการค้าของเถื่อน ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย และเป็นธุรกิจแรกที่นํามาสู่การสะสมทุนต่อมาก็ได้พัฒนาไปสู่การผูกขาดสัมปทานของรัฐบาลกัมพูชา เช่น การสัมปทานบุหรี่ต่างประเทศ การสัมปทานขุดทรายในแม่น้ำคางคืน จังหวัดเกาะกง การสัมปทานทําเหมืองพลอย การตัดไม้รวมถึงการตั้งบ่อนคาสิโนในเขตปกครองพิเศษ ในขณะเดียวกันก็จะมีธุรกิจการฟอกเงินที่แอบแฝง กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในช่วงสุดท้าย เป็นกรณีของเสี่ยพัดที่ต่อจากธุรกิจสีดําและสีเทา ก็คือ ธุรกิจโรงแรมเกาะกง ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจสีขาวที่รองรับนักท่องเที่ยว แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมโดยตรง เนื่องจากการแสวงหาผลประโยชน์ของเสี่ยพัดได้มาจากการขูดรีดแรงงานของพนักงานโรงแรมโดยตรง แต่เกิดจากการผูกขาดการทําธุรกิจโรงแรมในเขตชายแดนเกาะกงที่อยู่ตรงข้ามจังหวัดตราด ในการวิเคราะห์ถึงองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จาการวิจัย พบว่า กระบวนการสะสมทุนในพื้นที่ชายแดนของฝั่งทะเลตะวันออก ในจังหวัดตราดและจันทบุรีนั้น มีลักษณะของการสะสมทุนเบื้องต้น เป็นหลักการสะสมทุนเบื้องต้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสะสมทุนในระบบทุนนิยม จะพบความแตกต่างได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ กระบวนการสะสมทุนในระบบทุนนิยมเป็นกระบวนการนํามูลค่าส่วนเกินมาลงทุนเพิ่มลงไปบนทุนที่มีอยู่เดิม เพื่อแสวงหามูลค่าส่วนเกินมาให้มากขึ้นอีก ดังนั้นจึงเป็นการขูดรีดหรือเอาเปรียบกัน โดยใช้กลไกทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก ในขณะที่การสะสมทุนเบื้องต้นนั้น จะใช้กลไกที่นอกเหนือจากเรื่องเศรษฐกิจ เป็นหลัก เช่น การใช้อํานาจรัฐ การใช้อิทธิพล การผูกขาดเพื่อแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงกลไกทางการค้าและการบริการ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เจ้าของกิจการ
dc.subject ทุนนิยม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.title กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
dc.title.alternative The process of primitive ccumultion of cpitl in thilnd-cmbodi border of estern costl provinces
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research aimed to study the context, mechanism and process of primitive accumulation of capital in Thailand-Cambodia border of Eastern coastal provinces. The results of the study were as follows; 1. The important context of the primitive accumulation of capital in the Eastern coastal area was the globalization trend after the downfall of the Soviet Union during 1989–1991. This context made the development process of capitalism widespread all over the world. Thai Government led by Prime Minister General Chartchai Choonhavan initiated Converting a Battlefield to a Market Place Policy in 1990. This caused the progress in the primitive accumulation of capital process in the border area in the Trat and Koh Kong Province. 2. Important mechanisms in the primitive accumulation of capital included Thai state mechanism both border trade as an economic mechanism and various forms of immigration checkpoints as a political one. Moreover, mechanism of Cambodian Government which developed after national government had already taken control the whole area of the country. National governments in both countries, Thailand and Cambodia, had promoted the process of capital accumulation at both the provinces and the country level. The transformation process from the primitive accumulation of capital to capitalist accumulation showed that there were main dynamism in the primitive accumulation of capital. The capital accumulation in the black business changed into grey business and into white business in the present. The attempt to transform the primitive accumulation of capital into capitalist accumulation could be clearly seen from the large-scale but nondynamic farming. The research found that none of Marxist theories of the primitive accumulation of capital were perfect in themselves in explaining the primitive accumulation of capital in Thai border area. This was because that the basic idea of David Harvey and Karl Marx are based on the past context in the case of Karl Marx and the present context in Globalization Era and Neoliberalism in the case of David Harvey. Hence, the application of those ideas might be adapted to the changing global environment
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account