Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการก่อรูปห่วงโซ่สินค้าในระดับโลก วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชิงอํานาจของห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน และวิพากษ์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน จังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต แบบมีส่วนร่วม กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้กระทําการในห่วงโซ้สินค้าทุเรียน จังหวัดจันทบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงเข้ากับกรอบแนวคิดทฤษฎี และพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของปรากฏการณ์ ณ ห่วงโซ่สินค้า ผลการวิจัยพบว่า 1. การก่อรูปห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ห่วงโซ่สินค้า ทุเรียนมีกระบวนการพัฒนาจากบริบทในเชิงประวัติศาสตร์ แต่เดิมทุเรียนจันทบุรีเป็นผลไม้ที่ได้จากการเก็บของป่า จากนั้นมีการเพาะปลูก และการผลิตเพื่อยังชีพ ต่อมากลายเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาด หลังจากการลงนามกรอบ ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ในปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ทุเรียนจันทบุรีได้ถูกผนวกเข้าในห่วงโซ่ สินค้าระดับโลก มีการพัฒนากระบวนการผลิต อาทิ การว่าจ้างแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ การลงทุนการผลิต เช่น การปรับปรุงแปลงปลูก และการใช้ปัจจัยสนับสนุนการผลิต อาทิ สารเคมี เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าส่งออก 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอํานาจของห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียนจังหวัดจันทบุรี พบว่า หลังการลงนาม ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศนํามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทําการที่เชื่อมโยงระหว่างห่วงโซ่สินค้าในระดับท้องถิ่นสู่ตลาดโลก และมีผู้กระทําการเพิ่มขึ้นและนํามาสู่ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ 3.วิพากษ์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียนจังหวัดจันทบุรี พบว่า นโยบายด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้กรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย ซึ่งมีผลไม้เมืองร้อนจํานวนมากก้าวขึ้นเป็น “มหานครผลไม้ของโลก” (The fruit capital of the world) รัฐได้กําหนด 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ 1. แนวทางด้านการผลิตในแบบเกษตรแปลงใหญ่ (Land plot) และ 2. แนวทางด้านการตลาดและการค้าแบบ Smart digital นํามาสู่ความไม่สอดคล้องทางสังคม (Social relevancy) เพราะว่าชาวสวนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงระบบการค้า Digital เพราะว่ามีสินค้าต่ำกว่าเกณฑ์การส่งออก อีกทั้ง การรวบรวมสินค้าทุเรียนให้กับตลาดการค้า Digital กําหนดว่าจะใช้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรเป็นกลไกหลักในการส่งทุเรียน อาจทําให้การขับเคลื่อนสินค้าห่วงสินค้าทุเรียนในระดับโลกของจังหวัดจันทบุรีอาจจะไม่ราบรื่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. เสนอให้รัฐบาลส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวสวนที่มีทุนและแปลงผลิตสินค้าที่ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวสวนที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านแนวทางการผลิตทุน เวลา และทรัพยากรอื่น ๆ 2. เสนอให้รัฐบาลส่งเสริมและให้ความสําคัญกับตลาดการค้าภายในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศบริโภคสินค้าที่ถูกต้อง หากผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่รู้จักทุเรียนย่อมจะส่งผลกระทบต่อ “มหานครผลไม้ของโลก” (Chanthaburi fruit capital of the world)