DSpace Repository

เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยห่วงโซ่สินค้าของผลไม้ภาคตะวันออก: ศึกษากรณีทุเรียน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธี ประศาสน์เศรษฐ
dc.contributor.author วงธรรม สรณะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:02:26Z
dc.date.available 2023-06-06T04:02:26Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8610
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการก่อรูปห่วงโซ่สินค้าในระดับโลก วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์เชิงอํานาจของห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน และวิพากษ์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน จังหวัดจันทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกต แบบมีส่วนร่วม กําหนดผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้กระทําการในห่วงโซ้สินค้าทุเรียน จังหวัดจันทบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อเท็จจริงเข้ากับกรอบแนวคิดทฤษฎี และพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของปรากฏการณ์ ณ ห่วงโซ่สินค้า ผลการวิจัยพบว่า 1. การก่อรูปห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียน จังหวัดจันทบุรี พบว่า ห่วงโซ่สินค้า ทุเรียนมีกระบวนการพัฒนาจากบริบทในเชิงประวัติศาสตร์ แต่เดิมทุเรียนจันทบุรีเป็นผลไม้ที่ได้จากการเก็บของป่า จากนั้นมีการเพาะปลูก และการผลิตเพื่อยังชีพ ต่อมากลายเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาด หลังจากการลงนามกรอบ ความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ในปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ทุเรียนจันทบุรีได้ถูกผนวกเข้าในห่วงโซ่ สินค้าระดับโลก มีการพัฒนากระบวนการผลิต อาทิ การว่าจ้างแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ การลงทุนการผลิต เช่น การปรับปรุงแปลงปลูก และการใช้ปัจจัยสนับสนุนการผลิต อาทิ สารเคมี เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าส่งออก 2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอํานาจของห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียนจังหวัดจันทบุรี พบว่า หลังการลงนาม ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศนํามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทําการที่เชื่อมโยงระหว่างห่วงโซ่สินค้าในระดับท้องถิ่นสู่ตลาดโลก และมีผู้กระทําการเพิ่มขึ้นและนํามาสู่ความสัมพันธ์เชิงอํานาจ 3.วิพากษ์นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับห่วงโซ่สินค้าในระดับโลกของทุเรียนจังหวัดจันทบุรี พบว่า นโยบายด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาภายใต้กรอบนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย ซึ่งมีผลไม้เมืองร้อนจํานวนมากก้าวขึ้นเป็น “มหานครผลไม้ของโลก” (The fruit capital of the world) รัฐได้กําหนด 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ 1. แนวทางด้านการผลิตในแบบเกษตรแปลงใหญ่ (Land plot) และ 2. แนวทางด้านการตลาดและการค้าแบบ Smart digital นํามาสู่ความไม่สอดคล้องทางสังคม (Social relevancy) เพราะว่าชาวสวนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงระบบการค้า Digital เพราะว่ามีสินค้าต่ำกว่าเกณฑ์การส่งออก อีกทั้ง การรวบรวมสินค้าทุเรียนให้กับตลาดการค้า Digital กําหนดว่าจะใช้กลุ่มสหกรณ์การเกษตรเป็นกลไกหลักในการส่งทุเรียน อาจทําให้การขับเคลื่อนสินค้าห่วงสินค้าทุเรียนในระดับโลกของจังหวัดจันทบุรีอาจจะไม่ราบรื่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. เสนอให้รัฐบาลส่งเสริมการรวมกลุ่มชาวสวนที่มีทุนและแปลงผลิตสินค้าที่ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาวสวนที่มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านแนวทางการผลิตทุน เวลา และทรัพยากรอื่น ๆ 2. เสนอให้รัฐบาลส่งเสริมและให้ความสําคัญกับตลาดการค้าภายในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศบริโภคสินค้าที่ถูกต้อง หากผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่รู้จักทุเรียนย่อมจะส่งผลกระทบต่อ “มหานครผลไม้ของโลก” (Chanthaburi fruit capital of the world)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ทุเรียน -- การตลาด
dc.subject ทุเรียน -- การค้า
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.title เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยห่วงโซ่สินค้าของผลไม้ภาคตะวันออก: ศึกษากรณีทุเรียน
dc.title.alternative Politicl economy of fruit commodity chins in estern regions: cse study of durin chins
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the global commodity chains formation, to analyze the power relations of the global commodity chains, and to criticize public policy on the global commodity chains of durian in Chanthaburi province. The Research methodology was qualitative research: The date was collected from in-depth interviews, and participatory observation. The determination of key informants who acted in the durian commodity chains in Chanthaburi province and analyzed by linking facts with conceptual frameworks and considered the reasonableness of the phenomenon at the commodity chains. The research found that 1. The global commodity chains formation of durian in Chanthaburi province had found that the durian chains had a history-based development process. Originally, Chanthaburi durian was the fruit of the forest collection. Then there was the cultivation and production for subsistence, that became a commodity traded in the market after the signing of the Free Trade Area (FTA) in 2003. Chanthaburi durian had been integrated into the Global commodity chains. There was the development of production process such as hiring of Thai and migrant labors, production investment such as planting improvement and the use of supporting factors such as chemicals, machine tools to produce exports. 2. The global power chains analysis of durian in Chanthaburi province had found that the signing of FTA led to the relation between the actors involved in the chains at the local market to the world market and increasing actors in market and led to power relationships. 3. The critique of public policy on global chains of durian in Chanthaburi province had found that the development strategy policy under the policy framework of Thailand 4.0 aimed to push Thailand to have many tropical fruits as “The Fruit Capital of the World.” The government had defined two broad approaches, 1. productive approach in large agricultural land plot, and 2. Marketing approach and smart digital trading to lead social relevancy because smart digital trading affected to the retail orchardists couldn’t access to the digital trading system because they produced quality durian below the export criteria. In addition, the collection of durian commodity for the digital trading market required that the agricultural cooperation was the main mechanism for durian delivery. The global durian commodity movement of Chanthaburi province may not be worked. Research recommendations 1. To propose the government to promote the encouragement grouping of orchardists with similarity for reducing the conflict between the different groups of orchardists, the way to produce, capital, time and resources. 2. To propose the government to promote and aim to the domestic market and encourage Thais to consume the durain. If domestic consumers do not know durian, will affect to “The Fruit Capital of the World.”
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account