Abstract:
จากการศึกษา มาตรการทางกฎหมายในการดําเนินคดีอาญากรณีนักท่องเที่ยวเป็นผู้เสียหาย: ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นก่อนฟ้อง พบว่า ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 กําหนดให้คดีหรือข้อพิพาททางอาญา ที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยไว้ว่า หมายความว่า คดีแพ่ง หรือคดีอื่นใดที่อาจระงับข้อพิพาทได้ด้วย การตกลงกันของคู่ความเห็นได้ว่า คดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินนั้นไม่สามารถเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้เสียหายที่เป็นนักท่องเที่ยวจึงไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ จะต้องไปดําเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก อาจส่งผลให้การดําเนินคดีเกิดการล่าช้า ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกานั้นคดีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ จะไม่ได้พิจารณาว่าเป็นคดีประเภทไหน แต่จะพิจารณาที่ความยินยอมหรือความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ อีกทั้ง กรณีเกี่ยวกับระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยควรจะต้องมีระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่ข้อ 33 ของข้อกําหนด ประธานศาลฎีกาวาด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 ไม่ปรากฎชัดเจนของระยะเวลาในการดําเนินการไกล่เกลี่ยแต่ละครั้งแต่ให้ถือเป็นดุลพินิจของผู้รับผิดชอบ และยังกําหนดให้สามารถขยายเวลาได้หากเห็นสมควร หรือผู้ไกล่เกลี่ยร้องขอว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคู่ความไม่ได้ทําให้การพิจารณาพิพากษาคดี ล่าช้าเกินสมควร ส่งผลให้ต่อกรณีของนักท่องเที่ยวที่ตกเป็นผู้เเสียหายซึ่งสามารถพํานักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นไปตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 35 อาจเกิดความล่าช้าคดีนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้เสียหาย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ดังนี้ “คดีหมายความว่า คดีแพ่ง หรือ คดีอื่นใดที่อาจระงับข้อพิพาทได้ด้วยการตกลงกันของคู่ความคดีอาญาอันยอมความได้ หรือคดีอาญา อันเป็นความผิดต่อแผ่นดินที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี จะมีโทษปรับหรือไม่ก็ได้” และแก้ไขข้อ 33 ดังนี้ “ผู้ประนีประนอมจะต้องดําเนินการไกล่เกลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่รับข้อพิพาทไว้ เว้นแต่มีความจําเป็นและคู่ความทั้งสองฝ่ายยินยอมให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 วัน หากผู้ประนีประนอมเห็นว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดําเนินการไกล่เกลี่ยโดยมีลักษณะประวิง คดีให้ชักช้า ให้ผู้ประนีประนอมรายงานให้ผู้แต่งตั้งทราบโดยเร็ว”