DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาญากรณีนักท่องเที่ยวเป็นผู้เสียหาย : ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นก่อนฟ้อง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประลอง ศิริภูล
dc.contributor.author ณัฏธ์ชาดา เอกพลไพศาล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T04:00:55Z
dc.date.available 2023-06-06T04:00:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8587
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract จากการศึกษา มาตรการทางกฎหมายในการดําเนินคดีอาญากรณีนักท่องเที่ยวเป็นผู้เสียหาย: ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นก่อนฟ้อง พบว่า ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 กําหนดให้คดีหรือข้อพิพาททางอาญา ที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยไว้ว่า หมายความว่า คดีแพ่ง หรือคดีอื่นใดที่อาจระงับข้อพิพาทได้ด้วย การตกลงกันของคู่ความเห็นได้ว่า คดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินนั้นไม่สามารถเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้เสียหายที่เป็นนักท่องเที่ยวจึงไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ จะต้องไปดําเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก อาจส่งผลให้การดําเนินคดีเกิดการล่าช้า ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกานั้นคดีที่สามารถไกล่เกลี่ยได้ จะไม่ได้พิจารณาว่าเป็นคดีประเภทไหน แต่จะพิจารณาที่ความยินยอมหรือความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสําคัญ อีกทั้ง กรณีเกี่ยวกับระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยควรจะต้องมีระยะเวลาที่รวดเร็ว แต่ข้อ 33 ของข้อกําหนด ประธานศาลฎีกาวาด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 ไม่ปรากฎชัดเจนของระยะเวลาในการดําเนินการไกล่เกลี่ยแต่ละครั้งแต่ให้ถือเป็นดุลพินิจของผู้รับผิดชอบ และยังกําหนดให้สามารถขยายเวลาได้หากเห็นสมควร หรือผู้ไกล่เกลี่ยร้องขอว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคู่ความไม่ได้ทําให้การพิจารณาพิพากษาคดี ล่าช้าเกินสมควร ส่งผลให้ต่อกรณีของนักท่องเที่ยวที่ตกเป็นผู้เเสียหายซึ่งสามารถพํานักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วัน เป็นไปตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 35 อาจเกิดความล่าช้าคดีนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้เสียหาย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ควรแก้ไขระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 ข้อ 3 ดังนี้ “คดีหมายความว่า คดีแพ่ง หรือ คดีอื่นใดที่อาจระงับข้อพิพาทได้ด้วยการตกลงกันของคู่ความคดีอาญาอันยอมความได้ หรือคดีอาญา อันเป็นความผิดต่อแผ่นดินที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินสามปี จะมีโทษปรับหรือไม่ก็ได้” และแก้ไขข้อ 33 ดังนี้ “ผู้ประนีประนอมจะต้องดําเนินการไกล่เกลี่ยให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันนับแต่วันที่รับข้อพิพาทไว้ เว้นแต่มีความจําเป็นและคู่ความทั้งสองฝ่ายยินยอมให้ขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 วัน หากผู้ประนีประนอมเห็นว่าคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดําเนินการไกล่เกลี่ยโดยมีลักษณะประวิง คดีให้ชักช้า ให้ผู้ประนีประนอมรายงานให้ผู้แต่งตั้งทราบโดยเร็ว”
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.subject กฎหมายอาญา
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาญากรณีนักท่องเที่ยวเป็นผู้เสียหาย : ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นก่อนฟ้อง
dc.title.alternative Legl mesures for criminl proceedings in cse of foreign tourtist victims: cse study of medition of criminl dispute in pre-tril stge
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative After studying of legal measures for criminal proceedings in case of foreign tourist victims: a case study of mediation of criminal dispute in pre-trial stage, it was found that the Item 3 of Rule of Judicial Administrative Commission on Mediation B.E. 2544 (2001), Amendment B.E. 2547 (2004) prescribed the definition of case as a civil case or dispute entered into mediation process was a civil or any case that might be ended its dispute by the agreement of all parties in such lawsuit. It could be seen that criminal cases, as public offences, could not be entered into the mediation process that effected to foreign tourist victims; such cases had to be prosecuted by normal process of judgement and proceedings shall be taken for long time. On the other hand, those cases could be mediated in USA because they were not be considered by types of such cases. The consideration was placed importance on the agreement or willingness of all parties in such lawsuit and short time of mediation process. Meanwhile, the Item 33 of President of Supreme Court Regulation on Mediation B.E. 2554 (2011) was not be prescribed clearly about the duration of each mediation process and it left as discretion of responsible persons. The regulation was also prescribed that the duration of mediation process could be extended by the Court’s consideration or the mediator requested that the extension shall be benefited for all parties in such lawsuit to shorten the Court proceedings. This was effected to cases of foreign tourist victims, who could stay in Thailand not more than 90 days in accordance with the Section 35 of Immigration Act B.E. 2522 (1979), on the delay of proceedings. The researcher had some suggestions as follow: the Item 3 of the Rule of Judicial Administrative Commission on Mediation B.E. 2544 (2001), Amendment B.E. 2547 (2004) should be amended as “Case means a civil case or any case that may be ended its dispute by the agreement of all parties in such lawsuit, a criminal case of compoundable offence or a public criminal case with imprisonment rate up tothree years and whether having fine or not”. Moreover, the Item 33 should be amended as “the mediation shall be completed by the Conciliator within 3 days from the date of receiving such dispute; except for having a necessary matter and consent of the two parties, such mediation can be extended for not more than 2 days. If the Conciliator considers that any parties in such lawsuit conduct the mediation in manner of delay, the Conciliator shall inform the Appointer immediately.”
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account