DSpace Repository

พัฒนาการศิลปะเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยในประเทศไทย : รูปแบบการสร้างสรรค์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาติ เถาทอง
dc.contributor.advisor ภรดี พันธุภากร
dc.contributor.author พิพัฒน์ จิตรอารีย์รักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:54:22Z
dc.date.available 2023-06-06T03:54:22Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8557
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstract การวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2486 ถึง พ.ศ. 2555 โดยศึกษาและวิเคราะห์ใน 4 มาตรฐาน คือ เนื้อหาแรงบันดาลใจ กระบวนแบบการสร้างสรรค์ ทัศนธาตุ และเทคนิคเฉพาะทางเครื่องปั้นดินเผา รวบรวมข้อมูลจากศิลปิน จำนวน 15 คน และผลงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผา จำนวน 101 ชิ้น ผลการวิจัยพบว่าพัฒนาการศิลปะเครื่องปั้นดินเผา เริ่มจากงานหัตถกรรมที่มีประโยชน์ใช้สอย พัฒนาคู่กับศิลปะสมัยใหม่ในปี พ.ศ. 2486 จากสถาบันการศึกษาทางศิลปะ ผลงานส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความงาม ความประทับใจ แสดงออกทางรูปทรง เนื้อดิน น้ำเคลือบ และการตกแต่ง ผู้วิจัยนำผลการวิเคราะห์มาเป็นแนวคิดแบ่งกระบวนแบบงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกกระบวนแบบประโยชน์ใช้สอย มีรูปทรงมาจากภาชนะ แสดงลักษณะพิเศษของเนื้อดิน น้ำเคลือบ และเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม กลุ่มที่สองกระบวนแบบจินตนาการ มีทั้งรูปทรงจินตนาการเหนือจริง และอุดมคติ การขึ้นรูปหลากหลาย และเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในสังคม และกลุ่มที่สามกระบวนแบบสัญลักษณ์ มีรูปทรงเรขาคณิตเชิงสัญลักษณ์ และนามธรรม เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อส่วนตัวที่ศิลปินสนใจเป็นพิเศษ นำแนวคิดที่ได้จากการวิจัยมาวิเคราะห์ผลงานที่ผ่านมาของผู้วิจัย และพัฒนาเป็นผลงานใหม่ จำนวน 3 ชุด คือ ชุดแรกความประทับใจความงามรูปทรงเมล็ดข้าว มาลดทอนรายละเอียดให้สอดคล้องกับรูปทรงภาชนะชุดที่สองความประทับใจในธรรมชาติที่สัมพันธ์กับเครื่องมือพื้นบ้านมาผสมผสานระหว่างรูปทรงธรรมชาติและเรขาคณิต ชุดที่สามความประทับใจกลไกการเคลื่อนไหวของเครื่องมือพื้นบ้านเป็นการจัดวางงานร่วมกับวัสดุอื่นเพื่อให้เกิดความรู้สึกการเคลื่อนไหว ผลงานทั้งหมดขึ้นรูปด้วยเนื้อดินชนิดเอิร์ทเทนแวร์ สร้างพื้นผิวธรรมชาติ ตกแต่งด้วยการทำออกไซด์ และเผาที่อุณหภูมิ 1,060 องศาเซลเซียส แบบลดออกซิเจน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subject เครื่องปั้นดินเผาไทย
dc.subject เครื่องปั้นดินเผา
dc.title พัฒนาการศิลปะเครื่องปั้นดินเผาร่วมสมัยในประเทศไทย : รูปแบบการสร้างสรรค์
dc.title.alternative The development of contemporry cermic rts in thilnd: the cretivity
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This experimental creativity research aimed to study the development of contemporary ceramic arts in Thailand during the period of (1943 – 2012), by analyzing in four standard details : such as content, artistic expression style, elements of ceramic arts and ceramic techniques. The field research was conducted from 15 artists and 101 pieces of their artwork. Analysis revealed that the development of ceramic arts started with handy craft and developed along with modern art in 1943 from the academy of fine art. Hence, the researcher applied the result of analysis to create the affiliation of contemporary ceramic arts framework and divided into three groups. The firstgroup was the utility style which represented the container forms showing the effects of clay bodies, glazes, natural, and environmental content. The second group was the imagination style which contained the imagination style: the imagination, surrealistic and idealistic forms, and also people life content. The third, the symbolic style: geometric, symbolic and abstract forms, and also content on personal beliefs that the artist is particularly interested in. The research framework is applied to analyze the past works of the researcher. Then novel works are developed in 3 sets. The first set impresses the beauty of the grain: describing the details in accordance with the container forms. The second set is natural impression related to the folk mechanics: combining in between natural and geometric forms. The third set impresses the movement mechanism of folk mechanics: installation artworks with other materials to create emotion of movement. All the works are done by earthenware clay, creating a natural texture decorated with oxide wash technique, and fired at 1,060 degrees Celsius in reduction firing
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account