Abstract:
ยุคที่เทคโนโลยีเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มนุษย์มีความต้องการผลิตข้าวเพื่อเป็นอุตสาหกรรมจึงหันมาใช้เครื่องจักรกลแทนควายมากขึ้น ทำให้จำนวนควายลดลงอย่างหน้าใจหาย จึงเป็นมูลเหตุให้ผู้ศึกษาต้องการสะท้อนความผูกพัน และคุณประโยชน์ของควายไทย จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมตกแต่ง ชุดกาสรศิลป์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชนบทและควายไทยในรูปแบบร่วมสมัย ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนาไทยแบบเรียบง่าย การทำนาโดยไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัย เพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตชนบทกับควายไทย และเป็นเอกลักษณ์จุดสนใจของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย ซึ่งเป็นสถานที่จัดแสดงวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท ชาวนา และเกษตรกรรม หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยตั้งอยู่ในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของคนในชนบทกับควายไทยมาผสมผสานกับแนวคิดสมัยใหม่และสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม 2) เพื่อนำเสนอคุณค่าวิถีชีวิตของควายไทย และความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ความรู้สึกกับการแสดงออกถึงความอบอุ่นในวิถีชีวิตชนบทด้วยรูปแบบศิลปะร่วมสมัย 3) เพื่อสร้างงานประติมากรรมดินเผา ชุดวิถีชีวิตชนบทของควาย และควายไทยในรูปแบบศิลปะร่วมสมัยของหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผลงานกาสรศิลป์ ประติมากรรมตกแต่ง หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยได้นำลักษณะของควายมาตัดทอนรูปทรงให้เรียบง่าย โดยการนำรูปทรงเลขาคณิตมาใช้ในการออกแบบ สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการเครื่องปั้นดินเผาที่มีความคงทนต่อสถาพแวดล้อม และต้องการสร้างความทรงจำให้แก่ผู้พบเห็น และนักท่องเที่ยวและผู้ที่พบเห็นให้มีส่วนร่วมกับผลงานได้ตระหนักถึงคุณประโยชน์ มุมมองของควายไทยในวิถีชีวิตชนบท ซึ่งผลงานประติมากรรมนี้ช่วยส่งเสริมด้วยรูปแบบผลงานประติมากรรมแนวใหม่ ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี