Abstract:
การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบุกเบิกมุ่งสร้างผลงานวาดเส้นจากการเรียนรู้ผ่านวิธีการปฏิบัติพหุคูณ จากการวาดเส้นในเชิงรุกแสวงหาริเริ่มด้วยแนวทางมีการปฏิบัติทางศิลปะที่แปลก มีการซ้อนทับย้ายกลับไปมา เพื่อวิเคราะห์สู่การสังเคราะห์ สร้างผลงานวาดเส้นแบบเฉพาะของตนเอง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ ข้อค้นพบที่สำคัญจากการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยคือได้สร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น “ ชุดจินตภาพหลังป่า – ก่อรูปแห่งปัญญา ”จากการสังเคราะห์ สรุปข้อมูลจนตกผลึกทั้งเข้าใจสิ่งนั้นอย่างกระจ่างชัด เป็น 1 ชุดความรู้ จำนวน 3 ภาพ เนื้อหาสาระ คือ ท่องป่า พักแรม และบันทึกป่า ซึ่งมีมิติการเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันตามแบบเฉพาะตนในเชิงอัตลักษณ์อันสะท้อนเจตจำนงแห่งพลังความคิดสติปัญญาของผู้วิจัย จากการใช้สื่อ ประเภทแบบคุ้นชินประยุกต์กับสื่อจาก Tablet และ Smartphone และประยุกต์ในคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พบว่า ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ 3 ทฤษฎี ที่ผู้วิจัยใช้ถ่ายทอดในการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น คือ ทฤษฎีอารมณ์นิยม และทฤษฎีรูปทรงนิยม เป็นร้อยละ 100 และทฤษฎีเลียนแบบนิยม มีจำนวนน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 33.33 จากการที่ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจาก 1,000 ภาพ แล้วใช้วิธีสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) จำนวน 40 ภาพทำการวิเคราะห์ หาค่าความหมายเชิงอัตลักษณ์ และสังเคราะห์ ประกอบสร้างอัตลักษณ์ ด้วยการทดลองจินตภาพสมมติภาพที่เกิดขึ้นมีการปฏิบัติทางศิลปะที่แปลกด้วยการลาก ขีด เขียน ซ้อนทับกลับไปมาในเนื้อหาสาระมีความเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อม สะท้อนให้เห็นความรู้แจ้งในการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นแสดงอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน การสังเคราะห์สรุปข้อมูลอย่างรู้แจ้งกระจ่างชัดได้เกิดพลังแห่งแรงบันดาลใจในเนื้อหาสาระที่สะท้อนนัยคุณค่าความหมายอันลุ่มลึก พบคุณค่าเฉพาะจาก 3 ด้าน ใน 1 ชุดความรู้ จำนวน 3 เนื้อหาสาระ คือ ท่องป่า พักแรม และบันทึกป่า ซึ่งมีมิติการเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน ที่มีความชัดเจนมีมิติการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกเทคนิควิธีการและสุนทรียะที่แตกต่างอาจเรียกว่าอารมณ์ความรู้สึกทั้งสอดคล้องและย้อนแย้งแปลงเปลี่ยนเทคนิควิธีการกล้าก้าวข้ามเปลี่ยนกระบวนแบบและสุนทรียะที่กล้าเปลี่ยนค่าจินตภาพความงาม