DSpace Repository

คนกับการจัดการละครเวที : กรณีศึกษาเทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนะรัชต์ อนุกูล
dc.contributor.advisor ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร
dc.contributor.author กัลยา หงษา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-06T03:49:24Z
dc.date.available 2023-06-06T03:49:24Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8527
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องคนกับการจัดการละครเวที: กรณีศึกษาเทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษากระบวนการจัดการ เทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบของนิสิตชั้นปี 4 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2558 และเพื่อนําเสนอแนวทางการจัดการเทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบอย่างยั่งยืน โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัย คือ แนวคิดกระบวนการบริหารพอส์คอร์บ (POSDCORB) ของลูเธอร์ คูลิค (Luter Gulick) แนวคิดการบริหารจัดการ “คน” ด้วยแนวคิดการดํารงชีวิตแบบจิตปัญญา โดย ทับทิม วงศ์ประยูร และพรทิพย์ คําพอ และแนวคิดเรื่องการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยพรธิดา วิเศษศิลปานนท์ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีลักษณะเป็นกรณีศึกษา ประกอบไปด้วย เทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบของมหาวิทยาลัยบูรพา โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตการแบบมีส่วนร่วม โดยเข้าร่วมชม การแสดงของเทศกาลและร่วมเสวนาหลังชมการแสดง เพื่อวิเคราะห์กระบวนการจัดการเทศกาลของแต่ละรุ่น ผลการวิจัยพบว่า จากการจัดเทศกาลโดยภาพรวม กระบวนการจัดการที่นิสิตใช้นั้นไม่ได้มีระบบแบบแผนอย่างละเอียด ซึ่งการทํางานในแต่ละครั้งมีการประชุมของกลุ่มเพื่อน ๆ และจัดแบ่งฝ่ายการทํางานตามความถนัดหรือความสนใจ โดยการประชุมนั้นไม่ได้มีการสรุปแผน การทํางานอย่างชัดเจน และไม่ได้มีการระบุ วัน เวลา ของการจัดแสดงอย่างชัดเจนซึ่งวัน เวลา การแสดงนั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของโปรดักชั่นนั้น ๆ แต่มีรุ่นที่ 5 และ 6 ที่มีการจัดการที่ต่างจากรุ่นอื่น ๆ คือ มีระบบการวางแผนที่ละเอียดและกําหนด วัน เวลา ของการจัดแสดงไว้อย่างชัดเจน ซึ่งกระบวนการจัดการเป็นไปตามกระบวนการบริหารพอส์คอร์บอย่างครบถ้วน และการจัดเทศกาล ครั้งนี้มีฐานผู้ชมเพิ่มมากขึ้น จนนําไปสู่วัฒนธรรมการชมละคร ซึ่งการทํางานของรุ่นนี้ได้รับคําชื่นชมจากคณาจารย์และรุ่นน้อง โดยประสบการณ์ทํางานนั้นได้ถูกถ่ายทอดและนําไปสู่แผนการนําเสนอแนวทางการจัดการเทศกาลสู่รุ่นน้องต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ละครเวที
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.title คนกับการจัดการละครเวที : กรณีศึกษาเทศกาลศิลปะการละครนิพนธ์บางแสนละครก่อนจบ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternative Mn nd drm mngement: cse of the finl performing rts thesis, bngsen burph university
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of the research entitled “Man and Drama Management: A Case Study of Bangsaen Lakorn Art Thesis Festival before Graduation, Burapha University” were aimed to study a process of problem solving in drama management Bangsaen Lokorn Art Thesis from 2009-2015 CE of the 4th undergraduate students before their graduation, and find out the guidelines for sustainable drama management. The research conceptual framework was the Posdcorb concept for administration process proposed. The concept of man management was adapted the concept of a contemplative living proposed as well as the concept of education as sustainable development proposed. This research was collected by documentary research, in-depth interview, and participatory observation in viewing drama performance and attending a seminar after drama performance in order to analyze festival management process of each batch of students. The research revealed that the overall of undergraduate students’ management process was not systematically and delicately done. Incidentally, each time of work was accompanied with meeting among friends in a group; they were assigned in accordance with their skillfulness or interest. Their meetings were not vividly summarized or specified for date, time, and performance but they depended on readiness of each production. However, the batch 5 and the batch 6 undergraduate students were different from other batch of students, i.e. their work had been done with delicate planning system and clear specification of date and time. The management process was done in accordance with POSDCORB management process. The number of audience for this drama festival was increasing, causing a drama watching culture. The team work of this batch was complimented by teachers and junior students. Importantly, their work experiences were passed on and implemented to a presentation plan for festival management guideline for junior undergraduate students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account