Abstract:
การวิจัยเรื่อง เศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการออกแบบเชิงนิเวศ เศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการแปรรูปและการนําไปใช้ใหม่ของเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม การทดสอบการนําวัสดุ EVA และ PVC มาหาสัดส่วนการผสม เพื่อนําไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาผ่านการประเมินการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนากระบวนการแปรรูปและการนําไปใช้ใหม่ของเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ในอุตสาหกรรม โดยศึกษากระบวนการนํากลับไปใช้ใหม่ของวัสดุทั้ง 2 ประเภท และการนําวัสดุทั้ง 2 ประเภทมาผสมกันและขึ้นรูป ตามอัตราส่วนที่กําหนด 9 อัตราส่วนผลปรากฏว่าสามารถขึ้นรูปทรงเป็นแผ่นได้ การทดสอบการนําวัสดุ EVA และ PVC มาหาสัดส่วนการผสมเพื่อนําไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบทางกายภาพของวัสดุที่ขึ้นรูปจาก EVA และ PVC ตามอัตราส่วนที่กําหนด รวมถึงความเหมาะสมของวัสดุกับการนําไปใช้ในด้านการออกแบบ ซึ่งจากการทดสอบทาง กายภาพ ตามมาตรฐาน ASTM เพื่อการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้จากอุตสาหกรรม โดยการนําอัตราส่วน PVC 20% : EVA 80% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภท เฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากกายภาพ มีค่าความแข็งของวัสดุที่สูง ทนต่อค่าแรงดึงและแรงฉีกขาดที่สูงอัตราส่วน PVC 60% : EVA 40% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอวัยวะเทียมเนื่องจากกายภาพมีความยืดหยุ่นปานกลาง และมีค่าความแข็งที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ มีค่าการทนต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดที่เหมาะสมและอัตราส่วน PVC 30% : EVA 70% พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรม เนื่องจาก กายภาพสามารถอัดลายบนแม่พิมพ์ได้และมีค่าความแข็งที่สูงปานกลาง ทนต่อแรงดึงและแรงฉีกขาดที่สูง ปานกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาผ่านการประเมินการรับรู้ต่อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ EVA และ PVC เหลือใช้ พบว่า ความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างมีการประเมินการรับรู้ต่อเฟอร์นิเจอร์จากเศษ EVA และ PVC ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 ซึ่งการประเมินการรับรู้ต่อเฟอร์นิเจอร์จากเศษ EVA และ PVC อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ความคิดเห็นในการทดสอบอวัยวะเทียมประเภทเทียม ผู้วิจัยได้ทําการทดสอบและสัมภาษณ์ผู้ทดสอบในประเด็นของ ประโยชน์ใช้สอย การใช้งานและความปลอดภัย ซึ่งผู้ทดสอบให้ระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก และความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างมีการประเมินการรับรู้ต่อวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรมจากเศษ EVA และ PVC ปรากฏว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 ซึ่งการประเมินการรับรู้ต่อวัสดุตกแต่งทางสถาปัตยกรรมจากเศษ EVA และ PVC อยู่ในระดับเหมาะสมมาก