DSpace Repository

ความหลากหลายทางชีวภาพและการประยุกต์ใช้ทรอสโทไคตริดส์จากป่าชายเลนเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Show simple item record

dc.contributor.author สมถวิล จริตควร th
dc.contributor.author สุดารัตน์ สวนจิตร th
dc.contributor.author เศรษฐวัชร ฉ่ำศาสตร์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:47Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/848
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ได้คัดแยกจุลินทรีย์ทะเลกลุ่มทรอสไคตริดส์จากใบไม้ป่าชายเลนที่ร่วงหล่นบริเวณป่าชายเลน จังหวัดฉะเชิงเทรา จากจำนวนพันธุ์ไม้ทั้งหมด 5 ชนิด พบทรอสโทไคตริดส์ ทั้งสิ้น 687 ไอโซเลท สามารถจัดจำแนกตามลักษณะทางสัณฐานวิทยาได้ 2 สกุล 3 ชนิด ได้แก่ Aurantiochytrium mangrovei (Schizochytrium mangrovei), Aurantiocgytrium limacinum (Schizochytrium limacinum) และ Ulkenia visurgensis โดยชนิดที่พบมากที่สุดคือ A.mangrovei รองลงมาคือ A.limacinum และ Ulkenia visurgensis ตามลำดับ เมื่อพิจารณาพันธุ์ไม้ป่าชายเลนแต่ละชนิด พบว่าตาตุ่มทะเลมีเปอร์เซ็นต์การพบทรอสโทไคตริดส์ (Frequency of Occurrence) สูงสุดเท่ากับร้อยละ 43 รองลงมาคือแสมทะเล (ร้อยละ 39) โพทะเล (ร้อยละ 35) โกงกางใบใหญ่ (ร้อยละ 34) และโกงกางใบเล็ก (ร้อยละ 27) ตามลำดับ โดยพบ A. mangrovei สูงสุดที่ใบแสมทะเล (53.33%) และ A. limacinum พบสูงสุดที่ใบโกงกางใบใหญ่ (38.33%) ส่วน Ulkenia visurgensis พบสูงสุดที่ใบโกงกางใบเล็ก (18.33%) สำหรับกรดไขมันชนิดเด่น ๆ ที่พบในทรอสโทไคตริดส์ พบว่า A. limcainum มีปริมาณดีเอชเอสูงเท่ากับ 0.93-197.02 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0-42.44%) ของกรดไขมันทั้งหมด) และ A.mangrovei มีดีเอชเออยู่ในช่วง 5.12-195.18 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (2.76-41.14%) ของกรดไขมันทั้งหมด) ส่วนเออาร์เอและอีพีเอพบค่อนข้างมากใน U. visurgensis โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0-6.93 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0-10.48% ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 0-2.63 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0-3.24% ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ ดีพีเอพบสูงใน A. limacinum และ A. mangrovei ที่มีค่าใกล้เคียงกัน โดยมีค่าอยู่ในช่วง 0-35.19 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0-9.46% ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 0-40.58 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง (0-11.92% ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ ส่วนมวลชีวภาพของทรอสโทไคตริดทั้ง 3 ชนิด พบว่า A. mangrovei มีสูงสุด (6.05-21.55 กรัม/ลิตร) รองลงมาคือ A.limacinum และ U. visurgensis มีค่าอยู่ในช่วง 3.83-21.18 กรัม/ลิตร และ 6.73-19.86 กรัม/ลิตร ตามลำดับ จะเห็นว่าทรอสโทไคตริดส์มีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2551 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject กรดไขมันดีเอชเอ th_TH
dc.subject กรดไขมันไม่อิ่มตัว - - วิจัย th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ - - วิจัย th_TH
dc.subject ทรอสโทคิทริดส์ - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายทางชีวภาพและการประยุกต์ใช้ทรอสโทไคตริดส์จากป่าชายเลนเป็นแหล่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ th_TH
dc.title.alternative Biodiversity of thraustochytridds from mangrove forest and its application as the food source of highly unsaturated fatty acids in aquaculture en
dc.type Research th_TH
dc.year 2552
dc.description.abstractalternative Screening and isolation of thraustochytrids from fallen senescent leaves of 5 mangrove trees collected from Chachoengsao Province. A total of 687 thraustochytrid isolates were obtained, classified into 2 genera and 3 species, namely, Aurantiochytrium mangrovei (Schizochytrium mangrovei), Aurantiochytrium limacinum (Schizochytrium limacinum) and Ulkenia visurgensis. The dominant species found in this area was A.mangrovei, followed by A.limacinum and Ulkenia visurgensis, respecially. Considering with mangrove trees, Excoeoaria agallocha had the highest frequency of occurrence of thraustochytrids (43 %), followed by Avicennia (39 %), Thespesie populnea (35 %), Rhizophora mucronata (34 %), and Rhizophora apiculata (27 %), respectively. The most abundance of A. mangrovei found in Avicennia marina (53.33 %), while A. limacinum and Ulkenia visurgensis were highest in Rhizophora mucronata (38.33 %), and Rhizophora apiculata (18.33 %), respectively. For the fatty acid composition in thraustochytrids, high levels of DHA (Docosahexaenoic acid) Were found in a. limacinum and A. mangrovei which represented as 0.93-197.02 mg/g dry weight (0-42.44 % of total fatty acid) and 5.12-195.18 mg/g dry weight (2.76-41.14 % of total fatty acid), respectively. ArA (Arachidonic acid) and EPA (eicosapentaenoic acid) was the highest fatty acid found in U. visurgensis as 0-6.93 mg/g dry weight (0-10.48 % of total fatty acids) and 0-2.63 mg/g dry weight (0-3.24 % of total fatty acids), respectively. High levels of DPA (Docosapentaenoic acid) were revealed in A. limacinum and A. mangroei as 0-35.19 mg/g weight (0-9.46 % of total fatty acid) and 0-40.58 mg/g dry weight (0-11.92 % of total fatty acid), repectively. For the biomass of these 3 thraustochytrids, it was showed that the biomass of A. mangrove was 6.05-21.55 g/L, while A. limacinum and U. visurgensis was revealed as 3.83-21.18 g/L, and 6.73-19.86 g/L, respectively. It is indicated that these strains possesses the applicability for the production of polyunsaturated fatty acids in aquaculture en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account