DSpace Repository

การพัฒนาสูตรอาหารเม็ดสำหรับการเลี้ยงปลากะพงขาว จากแนวทางการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหาร

Show simple item record

dc.contributor.author วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย th
dc.contributor.author สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:46Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/843
dc.description.abstract การศึกษาสูตรอาหารเม็ดสำหรับการเลี้ยงปลากะพงขาวจากแนวทางการประเมินประสิทธิภาพการย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลอดทดลองของเอนไซม์ปลากะพงขาว (Lates Calcarifer) เริ่มทำโดยนำเอนไซม์สกัดของปลากะพงขาวที่มีอายุแตกต่างกันมาหาค่าแอคติวิตีจำเพาะของทริปซิน และไคโมทริปซิน พบว่าปลากะพงขาวมีค่าแอคติวิตีจำเพาะของทริปซินและไคโมทริปซินสุงสุดอยู่ที่อุณหภูมิ 60 และ 50 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ปลากะพงขาวที่มีอายุ 20 วัน จะมีค่าแอคติวิตีจำเพาะของทริปซินและไคโมทริปซินสูงกว่าปลาช่วงอายุอื่น ๆ (30,60 และ 90 วัน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ในหลอดทดลองของปาลกะพงขาวโดยใช้ปลาป่น กากถั่วเหลืองป่น กากถั่วลิสงป่น แป้งมันสำปะหลัง เนื้อและกระดูกป่น และเลือดป่น พบว่าปลากะพงขาวสามารถย่อยปลาป่นได้สูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) รองลงมาคือกากถั่วเหลืองป่น ซึ่งเมื่อนำกากถั่ว้หลืองป่นมาทดแทนปลาป่นในสูตรอาหารสำหรับปลากะพงขาวที่ 30, 45 และ 60 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำมาย่อยในหลอดทดลอง พบว่า สูตรอาหารปลากะพงที่ทดแทนปลาป่นด้วยกากถั่วเหลืองป่น 30 เปอร์เซ็นต์ จะมีประสิทธิภาพการย่อยอาหารประเภทโปรตีนได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ก็ยังมีค่าต่ำกว่าชุดควบคุมที่ไม่มีการทดแทนปลาป่นอย่างีนัยสำคัญ (P<0.05) การทดลองในช่วงต่อมาได้ผลิตสูตรอาหารต่าง ๆ กันเพื่อเลี้ยงปลากะพงขาวเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยสูตรอาหารปลากะพงขาวมีการแทนที่ปลาป่นด้วยกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน เนื้อกระดูกป่น และข้าวโพด ด้วยการแทนที่ปลาป่น 20% ในสูตรอาหารที่เลี้ยงปลากะพงขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 14.28-14.73 กรัม โดยทำอาหารทดลอง 6 สูตรที่ระดับโปรตีน 45% และไขมัน 12% เท่ากันทุกสูตร ผลการศึกษาพบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยสูตรที่ 2, 3 และ 6 ซึ่งใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน เนื้อกระดูกป่น และกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันผสมกับเนื้อกระดูกป่นอัตรา 1: 1 ให้น้ำหนักเฉลี่ยสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราแลกเนื้อ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ไม่แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) กับสูตรควบคุม แต่ในสูตรที่ 4 และ 5 ซึ่งใช้โปรตีนข้าวโพด และกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันผสมกับโปรตีนข้าวโพดอัตราส่วน 1:1 ให้น้ำหนักเฉลี่ยสุดท้าย อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตรารอด อัตราแลกเนื้อ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะประสิทธิภาพการใช้โปรตีน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่ม ต่ำกว่า สูตรควบคุม (P<0.05) แสดงว่าปลาป่นยังคงเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดในอาหารปลากะพงขาว แต่สามารถแทนที่ได้ด้วยกากถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน และ เนื้อกระดูกป่นมากถึง 20 % สำหรับการใช้ข้าวโพดเป็นแหล่งโปรตีนสำรอง ซึ่งให้ผลการทดลองทุกค่าต่ำที่สุด จึงไม่ควรใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารปลากะพงขาวเกิน 20% Development of seabass (Lates calcarifer) diet was student based on in vitro enzyme digestibility of crude enzyme extract from seabass reared at different interval. The optimum temperature for specific activity of trypsin and chymotrypsin was 60' C and 50' C, respectively (P<0.05). Highest level of trypsin and chymotrypsin activity was observed in seabass at the age of 20 days, significantly higher than other treatments that samples from fish at the age of 30, 60 and 90 day (P<0.05). In vitro digestibility of feedstuff was performed by digesting fishmeal, peanut, cassava powed, meat and bone, blood meal and soybean meal with extracted ezzyme from seabass. The resultshowed that extracted enzyme digested fishmeal more efficiently than other feedstuffs (P<0.05). Soybean meal was shown to be the most suitable feedstuffs for replacement of fishmeal in diet. In the second experiment, seabass with initial weight of 14.28-14.73 gm was reared for 8 weeks with pellets to compare feed utilization and growth performance. Six experimental diets containing 45% protein and 12% lipid were formulated based on 20% fishmeal replacament with soybean meal, meat and bone and corn starch. There was no significant different (P>0.05) in average final weight, average daily weight gain (ADG), food conversion efficiency ratio (FCR), specific growth rate (SGR), percentage weight gain (PWG) among diets replaced with soybean meal (diwt 2), meat and bone (diet 3), soybean meal and meat and bone (diet 6), and the control. Fish fed with corn gluten (diet 4) and soybean meal with corn gluten (diet 5) resulted in significant difference (P<0.05) in averge weight, ADG, FCR, SGR, PER and PWG compared to the control. This indicated that fishmeak is the best protein source for rearing of seabass although it can be partially replaced by soybean meal and meat and bone. The use of corn gluten resulted in low growth performance and fed utilization, suggesting that incorporation of corn gluten in diet of seabass would be less that 20%. th_TH
dc.description.sponsorship ทุนภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ทุนภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ปลา -- อาหาร th_TH
dc.subject ปลากระพงขาว -- วิจัย th_TH
dc.subject ปลากะพงขาว -- การเจริญเติบโต th_TH
dc.subject ปลากะพงขาว -- การเลี้ยง th_TH
dc.subject ปลากะพงขาว -- อาหาร th_TH
dc.subject ปลากะพงขาว th_TH
dc.title การพัฒนาสูตรอาหารเม็ดสำหรับการเลี้ยงปลากะพงขาว จากแนวทางการศึกษาประสิทธิภาพการย่อยอาหาร th_TH
dc.title.alternative Development of seabass (Lates calcarifer) diet based on digestibility approach th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2549


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account