DSpace Repository

ผลการวางปะการังเทียมชนิดแท่งคอนกรีตต่อทรัพยากรชายฝั่ง และรายได้จากการประมงของชาวบ้านในพื้นที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และบ้านแหลมศอก ตำบลอ่าว

Show simple item record

dc.contributor.author นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี th
dc.contributor.author วิภูษิต มัณฑะจิตร th
dc.contributor.author มารุต ทิพรส th
dc.contributor.author ภานุ แช่มชื่น th
dc.contributor.author สันติ เอี่ยนเหล็ง th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:45Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/825
dc.description.abstract ศึกษาปัจจัยทางกายภาพของปะการังเทียม องค์ประกอบทางนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตบริเวณแหล่งปะการังเทียมบ้านเกาะจิก จังหวัดจันทบุรี ทั้งสิ้น 4 สถานี และบ้านแหลมศอก จังหวัดตราด 5 สถานี ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 หลังจากจัดสร้างปะการังเทียมแบบท่อกลมบริเวณเกาะจิก เป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน และแบบแท่งคอนกรีต เป็นเวลา 11 เดือน พบว่าการเข้าครอบครองพื้นที่ของสิ่งมีชีวิตประเภทยึดเกาะหลายชนิด โดยสิ่งมีชีวิตที่พบบนปะการังเทียมแบบท่อกลม ได้แก่ สาหร่ายปะการังอ่อน กัลปังหา ไบรโอโซน ตัวอ่อนปะการัง และเม่นทะเล สำหรับสิ่งมีชีวิตหน้าดินที่พบบนปะการังเทียมแบบแท่งคอนกรีต ได้แก่ ไบรโอโซน ไส้เดือนทะเลแบบสร้างท่อหินปูน ไฮดรอยด์ ฟองน้ำ สาหร่ายขนาดเล็ก เพรียงหิน หอย2ฝา ปะการังอ่อน และตัวอ่อนปะการังแข็ง บริเวณแหลมศอก หลังการจัดสร้างปะการังเทียมเป็นเวลา 8 เดือน พบหอยแมลงภู่เป็นองค์ประกอบหลัก สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่พบได้แก่ เม่นทะเล เพรียงหิน เพรียงหัวหอม และตัวอ่อนปะการังแข็ง ในส่วนขององค์ประกอบสังคมปลาในแหล่งปะการังเทียมเกาะจิก พบปลาจำนวน 26 ชนิด จาก 13 วงศ์ ปลาชนิดที่พบจำนวนมากที่สุดคือ ปลากะพงแถบเหลือง (Lutjanus madras) และปลาสลิดทะเลแถบ (Siganus javus) ในขณะที่แหล่งปะการังเทียมแหลมศอก พบปลาจำนวน 10 ชนิด จาก 10 วงศ์ ชนิดที่พบมากที่สุดคือ ปลาบู่ข้างแถบ (Aspidontus dussumieri) ลักษณะการจัดวางปะการังเทียมบริเวณเกาะจิก เป็นรูปแบบการจัดวางเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเล ในขณะที่การจัดวางในพื้นที่แหลมศอกเป็นการจัดวางเพื่อการอนุรักษ์และป้องกันอวนลาก แหล่งปะการังเทียมบริเวณเกาะจิก มีปัจจัยทางกายภาพที่ความเหมาะสมในการสร้างประชาคมของสิ่งมีชีวิต พบสิ่งมีชีวิตหน้าดินและปลามีความหลากหลายมากกว่าบริเวณแหลมศอก เนื่องจากบริเวณแหลมศอกมีข้อจำกัดของปัจจัยทางกายภาพ มีปัญหาเรื่องตะกอน และการไหลเวียนของน้ำทะเลภายในอ่าวกับบริเวณทะเลเปิด ซึ่งเป็นปัจจัยจำกัดต่อสิ่งมีชีวิตที่จะเข้ามาอาศัย ในทัศนคติของชาวบ้านทั้งบ้านเกาะจิกและบ้านแหลมศอก มีความเห็นว่าการมีแหล่งปะการังเทียมช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เนื่องจากมีทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในทั้ง 2 พื้นที่ยังพบปัญหาการลักลอบเข้ามาทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ซึ่งจะต้องมีการจัดการที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายและลงโทษผู้กระทำผิด เพื่อให้ทรัพยากรชายฝั่งมีการฟื้นตัวและคงอยู่สืบต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจาก ธนาคารออมสิน ฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. 2554 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ทรัพยากรชายฝั่งทะเล th_TH
dc.subject ปะการังเทียม th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ผลการวางปะการังเทียมชนิดแท่งคอนกรีตต่อทรัพยากรชายฝั่ง และรายได้จากการประมงของชาวบ้านในพื้นที่บ้านเกาะจิก ตำบลบางชัน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี และบ้านแหลมศอก ตำบลอ่าว th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2555


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account