Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิสังคม วัฒนธรรมของชุมชนวัดเทพราชปวรารามและบริบทแวดล้อม เพื่อนําข้อมูลมาใช้กับการพิพิธภัณฑ์ ศึกษา สภาพวัตถุในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเทพราชเพื่อจัดทําทะเบียนวัตถุทางวัฒนธรรม และศึกษาและจัดทํากระบวนการสื่อความหมายเพื่อออกแบบนิทรรศการและกิจกรรม ณ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดเทพราช โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือ การจัดการความรู้ หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม การจัดการระบบวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการคุณลักษณะและคุณค่าทางวัฒนธรรม สภาการพิพิธภัณฑสถานระหว่างชาติ หลักการสื่อสารและปฏิบัติการ การสื่อความหมาย วิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวและหลักการออกแบบนิทรรศการ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิสังคมวัฒนธรรมของเมืองแปดริ้วมีส่วนสัมพันธ์กับวัดซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2424 ส่วนชุมชนเทพราช บ้านโพธิ์ ปรากฏมาตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.2447 ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้เสด็จ ประพาสต้นมาประทับที่วัดเทพราช เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2451 ข้อมูลดังกล่าวนี้จะนําไปสู่เนื้อหาในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย เรือนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมีลักษณะเป็นทรงไทยหมู่เก้า ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2556 มีวัตถุทางวัฒนธรรม จํานวน 26 ตู้ รวม 450 ชิ้น สภาพดีและสําคัญ คือ เครื่องสังเค็ด ซึ่งได้รับพระราชทานจากรัชกาล ที่ 5 จากนั้นจึงนําวัตถุมาจัดทําทะเบียนหมวดหมู่ กําหนดรหัสวัตถุพร้อมกับบันทึกบัญชีเดินทุ่งและดําเนินการบันทึกข้อมูลลงในระบบโปรแกรม อัตโนมัติพร้อมใช้เผยแพร่ ซึ่งออกแบบสัญลักษณ์และระบบทั้งหมดขึ้นใหม่โดยผู้วิจัย การสื่อความหมาย คือ นําความรู้ภาคสนามและเอกสารมาสร้างสรรค์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ คู่มือ ป้ายประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการออกแบบนิทรรศการ เรื่อง เทพราชประพาสต้น ชุมชน เกษตรกรรม งามล้ำเจดีย์ สังเค็ดสักขี มีดี..พิพิธภัณฑ์ ชีวิตฉันพอเพียง พร้อมกิจกรรมทางเลือก