DSpace Repository

ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่น ซี อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิญญา อิงอาจ
dc.contributor.advisor กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่
dc.contributor.author นิวัฒน์ โวหารลึก
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:54:30Z
dc.date.available 2023-05-12T06:54:30Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8102
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ค่านิยมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ 2. อิทธิพลของค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ 3. อิทธิพลของค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และ 4. อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานเจเนอเรชั่น ซี (Generation Z) ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาวิจัย คือ พนักงานเจเนอเรชั่น ซี อายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง จำนวน 306 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญต่อค่านิยมในการทำงานใน 6 ด้านมากที่สุด ได้แก่ ด้านค่านิยมด้านความยุติธรรม ค่านิยมด้านความเชื่อวัฒนธรรมดั่งเดิมตามแบบแผนพิธีการ ค่านิยมด้านการปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ ค่านิยมด้านความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่อผลสำเร็จของงาน ค่านิยมด้านความคิดสร้างสรรค์ และค่านิยรมด้านงานที่มีเกียรติ ตามลำดับ ส่วนความผูกพันต่อองค์การของผู้ตอบแบบสอบถามโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน และผลจากการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของอิทธิพลของค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเจเนอเรชั่น ซี อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน สถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง พบว่า ค่านิยมในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 0.892, P < .05) โดยที่ความผูกพันต่อองค์การ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 0.679, P < .05) และค่านิยมในการทำงานมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 0.243, P<.05) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ พบว่า แบบจำลองสามารถอธิบายความแปรปรวนของความผูกพันต่อองค์การได้ 0.796 (ร้อยละ 79.6) และอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การได้ 0.813 (ร้อยละ 81.3) ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การเกิดจากอิทธิพลของค่่านิยมในการทำงาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
dc.title ค่านิยมในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานเจนเนอเรชั่น ซี อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง
dc.title.alternative Work vlue influence to orgniztion commitment nd orgniztionl citizenship behvior of genertion zin utomotive nd prt industry in industril estte, ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This Research aims to 1. Study work values, organizational commitment and organizational citizenship behavior 2. Study the influence of work values that effect to organizational commitment 3. Study the influence of work values that effect to organizational citizenship behavior and 4. Study the influence of organizational commitment that effect to organizational citizenship behavior of generation Z in automotive and part industry at Industrial Estate Rayong Province. The sample of research were 306 persons of generation Z employees age between 18 to 25 years old who worked in automotive and part industry at Industrial Estate Rayong Province. The descriptive and inferential statistic used for data analysis were frequency, percentage, standard deviation, confirmatory factor analysis (CFA) and path analysis by Structural Equation Modeling (SEM). The result found that respondents take priority to 6 values were fairness and moral integrity, organization's beliefs and culture, planning with prudence, aggressiveness to the success, being creative and social status at high level, Respectively. Organizational commitment and organizational citizenship behavior status of the respondents were at a high level in all aspect. The causal relationship model fitted to empirical data and the analysis found that work values influenced organizational commitment (B = 0.892, P<.05) and organizational citizenship behavior with positive significant (B = 0.243, P<.05) While organizational commitment influenced organizational citizenship behavior with positive significant (B = 0.679, P<.05). In addition, Root mean square can explained organizational commitment variance 0.796 (79.6%) and explained organizational citizenship behavior variance 0.813 (81.3%) that mean work values influence to organizational commitment and organizational citizenship behavior.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการทรัพยากรมนุษย์
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account