dc.contributor.author |
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:45:46Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:45:46Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/80 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและผลกระทบที่มีต่อการศึกษาของไทยในต้นศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2543-2553) เป็นกรณีศึกษาเฉพาะภูมิภาคตะวันออกของไทย วิธีการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร เกี่ยวกับบริบททางการศึกษา การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่านเพิ่มเติมและการใช้แบบสอบถามทรรศนะของผู้เชี่ยวชาญ 30 ท่าน 3 รอบ ตามเทคนิคเดลฟาย การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในศตวรรษที่ 21 พบว่า จะมีการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหาร โดยมีการกระจายอำนาจออกสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นมากขึ้น จะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อเป็นกลไกให้การเมืองมีความชอบธรรมมากขึ้น ภูมิภาคและท้องถิ่นจะมีองค์กรทำหน้าที่ตรวจสอบและดูแลกันเองมากขึ้น เศรษฐกิจจะเป็นระบบอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร การท่องเที่ยวและการบริการขยายตัวออกไปในภูมิภาคมากขึ้น สภาพสังคมจะกลายเป็นสังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่วัฒนธรรมจะมีการผสมผสานกัน และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้มากขึ้น อัตราการเพิ่มของประชากรโดยการเกิดจะลดลง แต่การย้ายถิ่นฐานจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับปัญหาคุณภาพชีวิตจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะความเครียดจากการดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันกันสูง จริยธรรมในสังคมเมืองจะลดลง ปัญหาสังคมจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมและการจราจร ส่วนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายด้านนี้ในส่วนของการได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจมีแนวโน้มการให้ความช่วยเหลือแบบเงินกู้จะมีมากกว่าเงินให้เปล่า จะมีความร่วมมือกันทางวิชาการมากขึ้นประเทศที่มีการติดต่อกันจะมีมากขึ้น รวมทั้งจะมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศในภูมิภาคอุษาคเนย์ด้วยกันเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยเหลือกันในด้านต่างๆ เป็นฐานอำนาจต่อรองกับภูมิภาคอื่น2.ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะส่งผลต่อการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งจะมีการปฏิรูปการศึกษา มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหาร การจัดหลักสูตร แบบเรียน การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ตลอดจนส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครูให้สูงขึ้น แนวโน้มพบว่า การจัดการศึกษาทุกระดับชั้นในภูมิภาคนั้นท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมมากขึ้น และบรรจุเรื่องราวของท้องถิ่นให้เรียนในทุกระดับการศึกษามากขึ้น การศึกษาก่อนวัยเรียนจะเป็นที่นิยมขึ้น เพราะโครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนไป การประถมศึกษาจะมีการขยายตัวให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ โดยมีจำนวนปีเพิ่มขึ้น เป็น 9-12 ปี พร้อมทั้งปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษา และปรับหลักสูตรให้เหมาะสม การมัธยมศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ เด็กจะมีโอกาสศึกษาต่อได้มากขึ้น โรงเรียนจะขยายตัวมากขึ้น การอาชีวศึกษาจะขยายตัวมากขึ้นในภูมิภาค มีการฝึกปฏิบัติจริงโดยร่วมมือกับสถานประกอบการจัดสอนและอบรมครู ผู้ประกอบการร่วมกัน ส่วนการอุดมศึกษาจะมีการขยายตัวของสถานศึกษา ออกสู่ภูมิภาคมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชน มีคณะวิชา สาขาใหม่เปิดสอนเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบการบริหารใหม่เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อรองรับความเป็นนานาชาติ ร่วมมือกับต่างประเทศ เปิดสอนทำวิจัยและแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกันมากขึ้น สรุปในทุกระดับชั้นจะมีการเพิ่มวิชาภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ การฝึกงานและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่พึงปรารถนาควบคู่ไปกับการใช้นวัตกรรมในกระบวนการเรียนการสอนและการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
งานวิจัยนี้ได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2539 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การพัฒนาการศึกษา |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษา - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - การบริหาร |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษากับสังคม |
th_TH |
dc.subject |
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.subject |
พยากรณ์สังคม - - ไทย (ภาคตะวันออก) |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.subject |
ไทย (ภาคตะวันออก) - - การเมืองและการปกครอง |
th_TH |
dc.title |
แนวโน้มของการเปลียนแปลงทางสังคมและผลกระทบต่อการศึกษาของไทยในต้นศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2543-2553): กรณีศึกษาเฉพาะภูมิภาคตะวันออกของไทย |
th_TH |
dc.title.alternative |
Trends of social change and its impact on Thai education in the early 21st century (C.E. 2000-2010) : a case study in the Eastern region of Thailand |
en |
dc.type |
Research |
|
dc.year |
2542 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study trends of social change and its impact on Thai education in the early 21 century (C.E. 2000-2010). It is a case study in the eastern region of Thailand. The methods of this research were documentary research. interviews and open-ended questionnaires for analyzing the context of education and the Delphi Technique was utilized for studying trends of education. Three rounds of questioning were conducted to study opinions of 30 educational experts. All answers were then analyzed by means of mode ,mediean and inter-quartile range. Additional interviews of 10 experts were aimed at gathering more information for this research. Research findings were as follows :1. Trends of social change in the early 21 century was found that political and administrative reform would be happened as well as the decentralization of authority to the region by the new constitution and trends toward more political stability had been predicted. The econnomy would be developing from an agricultural based economy to a more agro-industrial economy and expanding of tourism and service accommodations. Eastern Thai society were becoming more urban and industrialized but traditional and urbanized culture would be assimilated in the regional development by local wisdom. population's growth rate would decrease but problems relating to quality of life from immigrated population would persit especially the traffic, pollution stress immorality and social problems in the urban areas. There would be more relations with foreign nations but finnancial supports would most likely be in the form of loans. Trends of Thai foreign policy would be relations among the neighboring countries and Asian countries rather than the other regions.2. Trends of education the experts agreed that the impact of social change would more toward Thai education to educational reform in administrative structure and system curriculum and instruction textbook measurement and evaluation of learning in every educational level as well as the teaching profession development and promotion. In the preprimary level expansions of kindergarten school would more be necessary for urban society. In the primary level. the most trend was extension of compulsory education to either the lower secondary level or to the higher secondary level would occur in the near future as well as adaptation of curriculum and quality of education>. In the secondary level the most trend would be the provision of opportunity for all citizen and expansion of secondary education level to the border area. In the vocational level the most likely trend would be the expansion of this level and the cooperation between educational institutions and industrial factory would more increase as well as the short course for training teacher and employees would be provided.In the tertiary level both the extension of institutional education to the region and offering of new faculties the new discipline would be take place in the most trends. Trends later in educational administration that would likely occur include the improvement of the structure and system of educational management mobilization of resources from local and private sectors would be more possible as well as the English program would be offered for internationalization and privatization of university There would also be more coordination with foreign universities for teaching and research's exchange In every level conclusive adaptation of curriculum in order to add foreign language technology local wisdom morality and practicum would be increasingly implemented in this near future |
en |