Abstract:
งานวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการจัดการเกี่ยวกับการควบคุมวัสดุคงคลังประเภทชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรเมื่อมีปริมาณความต้องการต่ำ และไม่ทราบความต้องการที่แน่นอน แต่สามารถวิเคราะห์การแจกแจงจากข้อมูลในอดีตได้งานวิจัยนี้จะศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการควบคุมระหว่าง Q- r, T-S และ Max-Min เมื่อความต้องการมีการแจกแจงแบบต่อเนื่อง ประกอบด้วยการแจกแบบปกติแบบเอ็กโปเนนเชียล แบบไวล์บูลและแบบล็อคนอร์มอลและแบบไม่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยแบบเอ็มไพริคอลและแบบปัวส์ซอง พิจารณาผลจากดัชนีค่าใช้จ่ายรวมและระดับบริการที่ยอมรับได้เปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วยการปรับค่าพารามิเตอร์ของแต่ละนโยบายโดยใช้ Process analyzer ของโปรแกรม ARENA ทำการรันแบบจำลองตามจำนวนรอบที่เหมาะสมของทุกการแจกแจงผลการศึกษาพบว่า นโยบาย Max-Min และ Q, r มีผลลัพธ์ทั้งค่าใช้จ่ายรวมเฉลี่ยและระดับบริการที่ยอมรับได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและดีกว่านโยบาย T-S จึงสรุปได้ว่านโยบาย Max-Min และ Q-r เป็นนโยบายที่เหมาะสมในการประยุกต์เพื่อควบคุมวัสดุคงคลังประเภทชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำ รุงมากกว่านโยบาย T-S เมื่อปริมาณความต้องการต่ำ และไม่แน่นอนไม่ว่าการแจกแจงจะเป็นแบบต่อเนื่องหรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม