Abstract:
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทำสีตัวถังรถยนต์ชนิด Solvent based และ Water based โดยใช้โปรแกรม SimaPro 8.4 ด้วยวิธี ILCD 2011 Midpoint + V1.10 โดยเปรียบเทียบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้พลังงานและสารเคมีประเภทสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) ต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของตัวถังรถยนต์ จากการเก็บข้อมูลในระยะเวลา 1 ปี พบว่า กระบวนการชนิด Solvent based มีปริมาณการใช้สารเคมีทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 0.18 kg/m2 และกระบวนการชนิด Water based เท่ากับ 0.15 kg/m2 ข้อมูลปริมาณการใช้สาร VOCs เฉลี่ยพบว่า กระบวนการชนิด Solvent based เท่ากับ 0.04335 kg/m2 และกระบวนการชนิด Water based เท่ากับ 0.00591 kg/m2 ข้อมูลปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยพบว่า กระบวนการชนิด Solvent based เท่ากับ 1.78 kWh/m2 และกระบวนการชนิด Water based เท่ากับ 1.48 kWh/m2 ข้อมูลปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติเฉบี่ยพบว่า กระบวนการชนิด Solvent based เท่ากับ 0.14 SCM/m2 และกระบวนการชนิด Water based เท่ากับ 0.08 SCM/m2 ข้อมูลปริมาณการใช้ไอน้ำเฉลี่ยพบว่า กระบวนการชนิด Solvent based เท่ากับ 0.84 MJ/m2 และกระบวนการชนิด Water based เท่ากับ 5.00 MJ/m2 เมื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการชนิด Solvent based พบว่ มีกระทบสูงกว่ากระบวนการชนิด Water based ในทุกผลกระทบที่ทำการวิเคราะห์ โดยผลกระทบทางด้าน Photochemical ozone formation ของกระบวนการชนิด Solvent based มีสัดส่วนการการก่อให้เกิดผลกระทบสูงกว่ากระบวนการชนิด Water based ถึง 84.4% โดยที่กระบวนการชนิด Solvent based มีศักยภาพในการเกิด Photochemical ozone formation เท่ากับ 3.12E-02 kg NMVOC eq/m2 ในขณะที่กระบวนการชนิด Water based มีศักยภาพเท่ากับ 4.88E-03 kg NMVOC eq/m2 ส่วนผลกระทบทางด้าน Climate change ของกระบวนการชนิด Solvent based มีสัดส่วนการเกิดผลกระทบสูงกว่ากระบวนการชนิด Water based เพียง 0.9% เท่านั้น โดยที่กระบวนการชนิด Solvent based มีศักยภาพในการเกิด Climate change เท่ากับ 1.50 kg Co2 eq/m2 ในขณะที่กระบวนการชนิด Water based มีศักยภาพเท่ากับ 1.49 kg Co2 eq/m2