Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาถึงความรู้ความเข้าใจหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและความรู้ ความสามารถในการเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระสังฆาธิการในระดับท้องถิ่นของอําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ตั้งแต่ระดับเจ้าคณะตําบลถึงเจ้าคณะจังหวัด โดยอาศัยการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) กล่าวคือ การใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เพื่อวิเคราะห์ผลของความรู้ความเข้าใจหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและความรู้ความสามารถใน การเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในการศึกษาแนวคิดทัศนคติที่มาจากประสบการณ์ของพระสังฆาธิการ อีกทั้งยังศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากการเผยแผ่งานทางด้านพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระสังฆาธิ- การในพื้นที่เขตปกครองคณะสงฆ์อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ผลการสํารวจ มีค่าเฉลี่ย โดยรวม 3.615 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.541 และมีรายละเอียดจําแนกตามหัวข้อคําถามมีค่าเฉลี่ย อยู่ในช่วง 3.29 -3.93 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.45 - 0.63 2. ข้อมูลความรู้ความสามารถในการเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระสังฆาธิการในพื้นที่เขตปกครองคณะสงฆ์อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ผลการสํารวจมีค่าเฉลี่ย โดยรวม 3.296 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.515 และมีรายละเอียดจําแนกตามหัวข้อคําถามมีค่าเฉลี่ย อยู่ในช่วง 3.00 -3.64 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.45 - 0.61 3. จากข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการหาสาเหตุของปัญหาและอุปสรรคที่มาจากการเผยแผ่ ฯ พบว่า คุณสมบัติของพระวิปัสสนาจารย์หรือพระผู้ทําหน้าที่เผยแผ่ควรมีการรับรองและมีคุณสมบัติเหมาะสมในการรับเลือกให้ทําหน้าที่นี้คือ ทางด้านจริยวัตรและความรู้ความสามารถในการเข้าใจและประยุกต์การปฏิบัติให้เข้ากับสภาพของแต่ละบุคคลและสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ได้ดี