Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวนประชากร 217 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607 - 610) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามเพศ ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถามระหว่าง .53 - .80 ค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามเท่ากับ .98 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check list) และแบบสอบถามค่าความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale questionnaires) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสร้างบารมี ด้านการกระตุ้น การใช้ปัญญา และด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวม และรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยครูเพศหญิงมีทัศนะต่อภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าครูเพศชาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า ผู้บริหารมีความใกล้ชิดกับครูเพศหญิง ในเรื่องของการทำงานมากกว่าครูเพศชาย โดยผู้บริหารจะมอบหมายงานให้ครูเพศหญิงมากกว่าครูเพศชาย เนื่องจากครูเพศหญิงมีความใส่ใจในรายละเอียดของการทำงาน และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน จึงทำให้มีโอกาส ได้ทำงานร่วมกับผู้บริหารมากกว่าครูเพศชาย 3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู กลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ ในการทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ