Abstract:
การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ยากในผู้ที่ติดบุหรี่หากบุคคลเหล่านี้ได้รับการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและส่งเสริมพฤติกรรมการเลิกบุหรี่จะช่วยให้สามารถลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเลิกบุหรี่กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพศชายที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติคือได้ดื่มชาหญ้าดอกขาวและได้รับคำแนะนำรายบุคคล กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติและโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่โปรแกรม ประกอบด้วยกิจกรรม 6 คร้ัง ๆ ละ 60-90 นาที ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ๆ ละ 2 คร้ัง เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ และแบบวัดพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ .93วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาการทดสอบค่าทีแบบอิสระและการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำที่ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดัย .001 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (การรับรู้สมรรถนะ: X = 28.60, SD = 8.87; พฤติกรรม: X = 19.40, SD = 3.46) และระยะติดตามผล 1 เดือน (การรับรู้สมรรถนะ: X = 36.40, SD = 6.12; พฤติกรรม: X = 26.67, SD = 1.91) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (การรับรู้ สมรรถนะ: X = 16.73, SD = 1.98; พฤติกรรม: X = 10.87, SD = 1.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจช่วยเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่และพฤติกรรมเลิกบุหรี่ บุคลากรด้านสุขภาพควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการช่วยให้ผู้ที่ติดบุหรี่สามารถลดและเลิกการสูบบุหรี่ได้