DSpace Repository

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้รับบริการเลิกบุหรี่ชายโรงพยาบาลท่าตะเกียบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisor ดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.author จารุวรรณ ไชยบุบผา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7858
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ยากในผู้ที่ติดบุหรี่หากบุคคลเหล่านี้ได้รับการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและส่งเสริมพฤติกรรมการเลิกบุหรี่จะช่วยให้สามารถลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมเลิกบุหรี่กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพศชายที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติคือได้ดื่มชาหญ้าดอกขาวและได้รับคำแนะนำรายบุคคล กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติและโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่โปรแกรม ประกอบด้วยกิจกรรม 6 คร้ัง ๆ ละ 60-90 นาที ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ ๆ ละ 2 คร้ัง เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดข้อมูลส่วนบุคคลแบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมเลิกสูบบุหรี่ และแบบวัดพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 และ .93วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาการทดสอบค่าทีแบบอิสระและการวิเคราะห์การแปรปรวนแบบวัดซ้ำที่ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดัย .001 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและคะแนนพฤติกรรมในการเลิกบุหรี่ในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (การรับรู้สมรรถนะ: X = 28.60, SD = 8.87; พฤติกรรม: X = 19.40, SD = 3.46) และระยะติดตามผล 1 เดือน (การรับรู้สมรรถนะ: X = 36.40, SD = 6.12; พฤติกรรม: X = 26.67, SD = 1.91) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (การรับรู้ สมรรถนะ: X = 16.73, SD = 1.98; พฤติกรรม: X = 10.87, SD = 1.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .001 จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจช่วยเพิ่มการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่และพฤติกรรมเลิกบุหรี่ บุคลากรด้านสุขภาพควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการช่วยให้ผู้ที่ติดบุหรี่สามารถลดและเลิกการสูบบุหรี่ได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา)
dc.subject การเลิกบุหรี่
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้รับบริการเลิกบุหรี่ชายโรงพยาบาลท่าตะเกียบ
dc.title.alternative Effects of motivtionl enhncement progrm on perceived self-efficcy nd behvior relted to smoking cesstion mong mle clients t thtkib hospitl
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Cigarette smoking cessation among people with smoking addiction is not easy to achieve. Enhancement of their perceived self-efficacy and behavior toward smoking cessation may help them reduce or stop smoking. Purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of motivational enhancement program on perceived self-efficacy and behavior related to smoking cessation among male clients receiving smoking cessation program at Tatakiab hospital. Participants included 30 male smokers who met study inclusion criteria. They were randomly assigned into either experimental (n= 15) or control (n= 15) group. Control group received a routine care included drinking Vernonia Cinerea tea and having individual counseling. Experimental group received a routine care and motivational enhancement program. The program consisted of six 60-90 minute sessions within 3 weeks, 2 sessions each week. Data were collected by questionnaires of general information, perceived self-efficacy in smoking cessation, and smoking cessation behaviors. These questionnaires yielded Cronbach alpha of .86 and .93. Data were analyzed by descriptive statistics, independent t-test, and repeated measure ANOVA with Bonferroni pairwise comparison. Results revealed that immediate posttest and 1-month follow-up posttest mean scores of perceived self-efficacy in smoking cessation and smoking cessation behavior of experimental group were significantly higher than those in control group (p< .001). Comparing pre- and post-test mean scores of perceived selfefficacy in smoking cessation and smoking cessation behavior within experimental group, their immediate posttest mean scores (self-efficacy: X = 28.60, SD = 8.87; behavior: X = 19.40, SD = 3.46) and their 1-month follow-up mean scores (self-efficacy: X = 36.40, SD = 6.12; behavior: X = 26.67, SD = 1.91) were higher than those of pretest mean scores (self-efficacy: X = 16.73, SD = 1.98; behavior: X = 10.87, SD = 1.55) significantly (p< .001). Findings support effectiveness of this motivational enhancement program in promoting perceived self-efficacy in smoking cessation and smoking cessation behaviors. Health care personnels could apply this program in order to assist addicted smokers to reduce or stop smoking.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account