Abstract:
ความหวังช่วยให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีเป้าหมาย มีกําลังใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอมต่อความหวังในผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทโดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดจํานวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที กลุ่มควบคุมได้รับดูแลตามปกติ ประเมินความหวังในระยะก่อนการทดลองหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน โดยใช้แบบประเมินความหวังของเฮิร์ท ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (F = 8514.37, p< .001) โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะก่อนการทดลอง (M = 32.17; SD = 1.75) แตกต่างจากในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (M = 38.33; SD = 1.37) และระยะ ติดตามผล 1 เดือน (M = 40.67; SD = 1.78) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (F2,22=150.74, p< .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอมนี้ช่วยเพิ่ม ความหวังในผู้ป่วยจิตเภท ดังนั้นพยาบาลหรือบุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนําโปรแกรมฯ