DSpace Repository

ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองของยาลอมต่อความหวังในผู้ป่วยจิตเภท

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisor ดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.author ลานทิพย์ พนารินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.available 2023-05-12T06:12:53Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7846
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ความหวังช่วยให้ผู้ป่วยจิตเภทสามารถดําเนินชีวิตได้อย่างมีเป้าหมาย มีกําลังใจที่เข้มแข็ง สามารถเผชิญปัญหาและปรับตัวอยู่ในสังคมได้ การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอมต่อความหวังในผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทโดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนดจํานวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอม เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที กลุ่มควบคุมได้รับดูแลตามปกติ ประเมินความหวังในระยะก่อนการทดลองหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน โดยใช้แบบประเมินความหวังของเฮิร์ท ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผลของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (F = 8514.37, p< .001) โดยในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในระยะก่อนการทดลอง (M = 32.17; SD = 1.75) แตกต่างจากในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที (M = 38.33; SD = 1.37) และระยะ ติดตามผล 1 เดือน (M = 40.67; SD = 1.78) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (F2,22=150.74, p< .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมกลุ่มจิตบําบัดประคับประคองของยาลอมนี้ช่วยเพิ่ม ความหวังในผู้ป่วยจิตเภท ดังนั้นพยาบาลหรือบุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนําโปรแกรมฯ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject Health Sciences
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject จิตเภท
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองของยาลอมต่อความหวังในผู้ป่วยจิตเภท
dc.title.alternative The effect of ylom’s supportive group psychotherpy on hope mong ptients with schizophreni
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Hope assists patients with Schizophrenia to lead their lives meaningfully. It helps strengthen the patients’ willpower in order to cope with life challenge and adapt themselves in society. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of Yalom’s supportive group psychotherapy on hope among patients with schizophrenia. The sample consisted of 24 patients with Schizophrenia who met the inclusion criteria. They were randomly assigned into either the experimental (n= 12) or control groups (n= 12). Patients in the experimental group participated in the Yalom’s supportive group psychotherapy over a 4 week period with 2 sessions per week. Each session took about 60 to 90 minutes. Patients in the control group received only routine care from the same clinical setting. The Herth Hope Index scale was used to measure hope at pre-test, post test, and one month follow-up. This scale yielded Cronbach’s alpha of .81. Descriptive statistics, t-test, two-way analysis of variance with repeated measure, and Bonferroni method for pairwise comparison were employed to analyze the data. Results showed that the mean scores of hope at posttest and one month follow-up phase in the experimental group were significantly different from the control group (F = 8514.37, p< .001). In the experimental group, the mean scores of hope at pretest (M = 32.17; SD = 1.75) was different from posttest (M = 38.33; SD = 1.37) and one month follow-up (M = 40.67; SD = 1.78) with statistical significance (F =150.74, p< .001). The study findings suggest that this Yalom’s supportive group psychotherapy could increase hope among patients with schizophrenia. Therefore, nurses and other health care providers could apply this program for the enhancement of patients’ hope which will in turn help promote their quality of life.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account