DSpace Repository

พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:09Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:09Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/779
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กับตัวแปรด้านเพศ คณะ ชั้นปีที่ศึกษา ระบบการเรียน สถานภาพทางครอบครัว และประสบการณ์การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และ 3) ศึกษารูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเชิงปริมาณ โดยการศึกษาจากเอกสาร การสำรวจ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มีจริยธรรมอยู่ในระดับที่ค่อนข้างมาก เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบอยู่ในอันดับที่ 1 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.10 ความมีระเบียบวินัยอยู่ในอันดับที่ 2 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.96 และความเสียสละ อยู่ในระดับที่ 3 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.95 ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีเพศ ชั้นปี และสถานภาพทางครอบครัวที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมไม่แตกต่างกัน ส่วนนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาศึกษาอยู่ในคณะ ระบบการเรียน และมีประสบการณ์การเข้าร่วมพิธีกรรมที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา มาจากอาจารย์ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับนิสิตมาเป็นอันดับแรก ร้อยละ 98 ให้การสนับสนุนนิสิตได้ทำกิจกรรมด้านจริยธรรม มาเป็นอันดับสอง ร้อยละ 97.3 และให้อาจารย์สอดแทรกจริยธรรมในรายวิชาที่สอนร้อยละ 96.6 เป็นอันดับสาม โดยนิสิตเห็นว่า จริยธรรมที่ควรปลูกฝังอย่างเร่งด่วนให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ได้แก่ ความมีระเบียบวินัยมาเป็นอันดับ 1 ความเสียสละมาเป็นอันดับ 2 ความซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นอันดับ 3 และความรับผิดชอบมาเป็นอันดับสุดท้าย th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2553 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จริยธรรม th_TH
dc.subject พฤติกรรม th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative Ethical behavior of Burapha University's student en
dc.type Research
dc.year 2553
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were 1) to investigate the degrees of Ethical behavior of Burapha University's student; 2)to study the relationship between ethical behavior of Burapha University's students and variables of gender, faculty, class of study, learning system, family status and experience of paticipation in religious ceremony; and 3) to study forms of the development of ethical behavior of Burapha Universitry's students. In this study, the researcher used quantitative data collection by means of documentary study, survet and analysis. The result of the first objective was found that ethical behavior of Burapha University's student was in high level. Dividing in each aspect it was found that honesty and responsibility were in the first level with an average of 4.10%, self--discipline was in the second level with an average of 3.96%, and self-sacrifice in the third level with an average of 3.95%. The result of the second objective was found that Burapha Unversity's student with the differences of gender, class of study and family status had no difference in ethical behavior, but students who have been studied in different facuties, different learning system and those had different experiences of participation in religious ceremony had different ethical behavior with statistical significance at the level of 0.05. The result of the third objective was found that the development of ethical behavior of Burapha University's students came from the role model of teacher's behavior at the first level with an average of 98%, from the support of ethical activities at the second level with an average of 97.3%, and from teaching with an ethical insertion into the subject contents at the third level with an average of 96.6%. The students expressed their opinions that the ethics which ought to be urgently cultivated are self-discipline, self-sacrifice, honesty and reponsibility respectively en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account