Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการจัดการตามแนวประชารัฐ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi future research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน มีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การกำหนดกรอบแบบสัมภาษณ์ 3) การสร้างรูปแบบ 4) การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและ 5) การนำรูปแบบไปทดลองใช้และประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติประกอบด้วย หน้าที่ในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์แผนงาน ตัวชี้วัด และการประเมินผล กำหนดแผนด้านบุคลากร หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านงบประมาณ และจัดหารายได้ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกแผนด้านประชารัฐการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน และการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในชุมชน 2) ด้านการจัดองค์กร มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบตามแนวคิดประชารัฐโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ บุคคล หน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และมอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถของบุคลากร 3) ด้านการนำไปปฏิบัติมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ พิจารณากำหนด คุณสมบัติผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม เลือกพื้นที่ชุมชนในการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม พิจารณา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ โปรแกรมกิจกรรม จัดการประชุม เพื่อชี้แจงเนื้อหาและข้อตกลง ในการดำเนินงาน กิจกรรม บริการตรวจสุภาพ การตรวจร่างกายขั้นพื้นฐาน ให้คำแนะนำและทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 4) ด้านการควบคุมมี 3 องค์ประกอบ คือ กำหนดตัวชี้วัด ประเมินผลกำกับติดตามการปฏิบัติงาน และจัดทำคู่มือการนำไปใช้