DSpace Repository

รูปแบบการจัดการตามแนวประชารัฐเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
dc.contributor.advisor นภพร ทัศนัยนา
dc.contributor.advisor ประวิทย์ ทองไชย
dc.contributor.author ธารินทร์ ก้านเหลือง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-05-12T06:07:55Z
dc.date.available 2023-05-12T06:07:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7789
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการจัดการตามแนวประชารัฐ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน เป็นการวิจัยแบบ EDFR (Ethnographic Delphi future research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบุคคลกลุ่มนี้ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน มีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) การกำหนดกรอบแบบสัมภาษณ์ 3) การสร้างรูปแบบ 4) การตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและ 5) การนำรูปแบบไปทดลองใช้และประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติประกอบด้วย หน้าที่ในการบริหารจัดการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์แผนงาน ตัวชี้วัด และการประเมินผล กำหนดแผนด้านบุคลากร หน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านงบประมาณ และจัดหารายได้ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกแผนด้านประชารัฐการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน และการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรมทางกายในชุมชน 2) ด้านการจัดองค์กร มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบตามแนวคิดประชารัฐโครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ บุคคล หน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และมอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถของบุคลากร 3) ด้านการนำไปปฏิบัติมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ พิจารณากำหนด คุณสมบัติผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม เลือกพื้นที่ชุมชนในการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม พิจารณา สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ โปรแกรมกิจกรรม จัดการประชุม เพื่อชี้แจงเนื้อหาและข้อตกลง ในการดำเนินงาน กิจกรรม บริการตรวจสุภาพ การตรวจร่างกายขั้นพื้นฐาน ให้คำแนะนำและทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ 4) ด้านการควบคุมมี 3 องค์ประกอบ คือ กำหนดตัวชี้วัด ประเมินผลกำกับติดตามการปฏิบัติงาน และจัดทำคู่มือการนำไปใช้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ประชารัฐ
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.title รูปแบบการจัดการตามแนวประชารัฐเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน
dc.title.alternative Mngement model ccording to civil stte concept to promote physicl ctivity for the elderly in the community
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) aimed to create and evaluate a management model according to civil state concept to promote physical activity for the elderly in the community. The population of this research included eminent persons, stakeholders and specialists from public, private and community sectors. The research was conducted in 5 stages: 1) study theories, documents and related research, 2) outline the interview framework, 3) design the model, 4) examine model’s practicality and 5) apply and evaluate the model. The findings showed the model to be effective and practicable for implementation. It consists of 4 management functions. The first function is planning which covers 7 activities: identify vision, mission, goal, objectives, plan, indicators and evaluation of these following criteria, assigning personnel plan, responsible sections, budget and financial supports, facilities and amenities, establishing cooperation among government sector, private sector and community, and implementing physical activities in the community. The second function is organizing which covers 4 activities: identifying responsible person under civil state framework, identifying organizational structure, roles and duties, gathering responsible person for participation and assigning tasks to suitable persons. The third function is implementing which covers 7 activities: specifying qualifications of elderly participants, selecting areas for organizing the activities, considering media, materials, amenities, program and holding the meeting in order to notify the content and agreement of the health check and senior fitness test activities. The forth function is controlling which covers 3 activities: specifying performance indicators, evaluating and monitoring the activity, and creating implementation manual.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account