Abstract:
ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอาจทeให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมควรปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยเชิงสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและปัจจัยที่มีความสัมพันกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 92 ราย ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างถามเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และความรอบรู้ทางสุขภาพต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง (M =2.94, SD =0.32) พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ อุปสรรค (r= -.57, p< .001) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรค (r=.56, p<.001) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r=.25, p=.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยลดการรับรู้ อุปสรรคเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการป้องโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ