DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor วารี กังใจ
dc.contributor.advisor สหัทยา รัตนจรณะ
dc.contributor.author นพนัฐ จำปาเทศ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:41Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7747
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอาจทeให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมควรปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยเชิงสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและปัจจัยที่มีความสัมพันกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 92 ราย ได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างถามเกี่ยวกับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจการรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และความรอบรู้ทางสุขภาพต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในระดับปานกลาง (M =2.94, SD =0.32) พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ อุปสรรค (r= -.57, p< .001) แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรค (r=.56, p<.001) และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (r=.25, p=.02) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยลดการรับรู้ อุปสรรคเพิ่มการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการป้องโรคหลอดเลือดหัวใจอย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
dc.subject หัวใจ -- โรค -- การป้องกันและควบคุม
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
dc.title.alternative Fctors relted to helth behvior of coronry rtery disese prevention mong elderly with metbolic syndrome
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Metabolic syndrome may cause elderly to be at risk of coronary artery disease (CAD). Therefore, elderly with metabolic syndrome should have CAD preventive health behavior. Purposes of this correlational research were to examine CAD preventive health behavior and its factors among elderly with metabolic syndrome. Ninety two elderly with metabolic syndrome visiting chronic disease clinics at health promoting hospitals, Bangplee district, Samutprakarn province were selected by cluster random sampling. Data were collected by structured interviews regarding health behavior for CAD prevention, perceived susceptibility to CAD, perceived benefits to, perceived barrier toward, perceived self-efficacy of, and health literacy in CAD preventive health behavior. Descriptive statistics and Pearson's product moment correlation were employed for data analysis. Study results revealed that participants had CAD preventive health behavior at a moderate level (M = 2.94, SD = 0.32). CAD preventive health behavior was negatively correlated with perceived barriers toward CAS preventive health behavior (r= -.57, p< .001)but positively associated with perceived self-efficacy of CAS preventive health behavior (r= .56, p< .001) and perceived susceptibility to CAD (r= .25, p=.02) significantly. Findings suggest that nurses and health care professionals mightdevelop program or activities to prevent CAD in elderly with metabolic syndrome. It would be done by reducing their perceived barriers to CAD preventive health behaviors while enhancing their perceived self-efficacy of CAD preventive health behavior and their perceived susceptibility to CAD.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account