Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบปัญหา และหาแนวทาง การพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จำนวน 34 คน โดยใช้ตารางกำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .59-.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วย Scheffe’s method ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์ การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการส่งเสริม ความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 18 โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ 1) ควรสร้าง/ พัฒนา/ ปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น 2) ควรจัด สภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ควรส่งเสริม ให้ครูพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน 4) จัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้าง และการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย 5) ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) ควรสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อนำมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้ 7) จัดให้มีการนำผลการนิเทศมาใช้ในการปรับปรุงการจัด การเรียนรู้ 8) ควรมีข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการแนะแนวทุกด้าน ตรงตามความเป็นจริงและ เป็นปัจจุบัน 9) ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินคุณภาพภายในและภายนอก และนำข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน 10) ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทางวิชาการ หรือวิชาชีพให้ชุมชน สังคม มีความเข้มแข็ง สามารถแก้ปัญหาหรือพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืน 11) ควรมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจน ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น และ 12) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เอกชน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา