DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author รัฐศักดิ์ เครือวัลย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:24:38Z
dc.date.available 2023-05-12T04:24:38Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7732
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบปัญหา และหาแนวทาง การพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จำนวน 34 คน โดยใช้ตารางกำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .59-.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่ด้วย Scheffe’s method ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย 2. ผลการเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์ การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการส่งเสริม ความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตาม กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 18 โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ 1) ควรสร้าง/ พัฒนา/ ปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น 2) ควรจัด สภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ควรส่งเสริม ให้ครูพัฒนาเครื่องมือวัดผลและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน 4) จัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้าง และการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลาย 5) ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) ควรสำรวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อนำมาบูรณาการการจัดการเรียนรู้ 7) จัดให้มีการนำผลการนิเทศมาใช้ในการปรับปรุงการจัด การเรียนรู้ 8) ควรมีข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการแนะแนวทุกด้าน ตรงตามความเป็นจริงและ เป็นปัจจุบัน 9) ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากร และผู้ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินคุณภาพภายในและภายนอก และนำข้อมูลสารสนเทศจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาโรงเรียน 10) ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทางวิชาการ หรือวิชาชีพให้ชุมชน สังคม มีความเข้มแข็ง สามารถแก้ปัญหาหรือพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืน 11) ควรมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ตลอดจน ประสานงานกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการของชุมชน และมีส่วนในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น และ 12) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เอกชน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การศึกษา -- การบริหาร (มัธยมศึกษา)
dc.subject วิชาการ -- การบริหาร
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18
dc.title.alternative Problems nd guidelines for cdemic ffirs dministrtive development of sunthonphupitty school, ryong province, under the secondry eductionl service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate problems, to compare problems, and to find guidelines for academic affairs administrative development of Sunthornphupittaya School, Rayong Province, under the Secondary Educational Service Area Office18, classified by work experience, and learning area. Based on Krejcie and Morgan's Table of Sample Size (1970, pp. 607-610), the sample of the study consisted of 34 school teachers at Sunthornphupittaya School. A 5-level, rating-scale questionnaire, having the discriminating power of items between .59-.96 and the reliability at .94, was used as an instrument for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe's paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. Problems arising from academic affairs administration of Sunthornphupittaya School, Rayong Province, under the Secondary Educational Service Area Office18, both as a whole and in each particular aspect, were found at a high level. 2. On the comparison of problems arising from academic affairs administration of Sunthornphupittaya School, Rayong Province, under the Secondary Educational Service Area Office18, as classified by work experience, both as a whole and in each particular aspect, no significant differences were found, except only in the aspect of Academic Promotion to Communities, in which there was a significant difference at the level of .05. When being classified by learning areas, the problems arising from academic affairs administration, both as a whole and in each particular aspect, were found non-significant different. 3. Guidelines for academic affairs administration of Sunthornphupittaya School, Rayong Province, under the Secondary Educational Service Area Office18, ranked from the highest average score of each particular aspects were: 1) The curriculum should be developed and revised to suit the needs of communities; 2) School environment and atmosphere should facilitate provision of learning activities; 3) Standard measurement and evaluation instruments should be developed; 4) Training on application of innovation concerning various learning strategies should be provided; 5) Budget for innovative media and educational technology should be allocated; 6) Learning resources in school, community and locality should be integrated; 7) Results of supervision should be applied into learning arrangement; 8) Updated and valid information should be available for all aspects of guidance; 9) Internal and external quality assurance together with their results should be analyzed and synthesized for the use of school development; 10) Promotion of cooperative learning exchange in both academic and profession; 11) Building relationship between school and communities including public and private units; 12) Promotion of cooperative learning among school, people, family, organization, local administrative organization, private sector, and educational institutions.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account