Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของโรงเรียนเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 144 คน โดยใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ลักษณะของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .34-.78 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่าง ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least significant difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านภูมิคุ้มกันที่ดี 2. การดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนเครือข่ายที่ 43 สำนักงานเขตหนองจอก สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ