Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการติดตามสถานการณ์น้ำเสียในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรีโดยวิเคราะห์คุณภาพน้ำ – ปริมาณสารอาหาร (pH, อุณหภูมิ, ออกซิเจนละลายน้ำ , บีโอดี, ไนโตรเจนรวม, ฟอสฟอรัสรวม, ไนเตรท และแอมโมเนีย) ในน้ำทิ้งและน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน ร่วมกับการจำแนกลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายแนวท่อรวบรวมน้ำเสียและจุดปล่อยทิ้ง น้ำเสียซึ่งจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่า น้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัดจากโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำมีปริมาณบีโอดีต่ำสุด-สูงสุดเท่ากับ 10.31-129.2 mg/l คุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Effluent) เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน (กรมควบคุมมลพิษ, 2553) คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทุกสถานีมีปริมาณบีโอดีและแอมโมเนีย (NH3 - ) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน (ประเภทที่ 3) โดยภาพรวม โครงข่ายแนวท่อรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรี พบว่าไม่ครอบคลุมพื้นที่บริการโดยเฉพาะพื้นที่ 1 (อบจ.จังหวัด ชลบุรี) และพื้นที่ 4 (เทศบาลเมืองศรีราชา) ทั้งสองแห่งมีปริมาณน้ำเข้าระบบบำบัดน้อยกว่า 50% ของความสามารถในการรองรับของระบบบำบัดสอดคล้องกับคุณภาพน้ำทิ้งและแหล่งน้ำผิวดินในพื้นที่ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากท่อรวบรวมน้ำ เสียไม่สามารถนำน้ำเสียเข้าสู่โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำได้น้ำเสียส่วนเกินรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมทั้งการซึมลงในแหล่งน้ำใต้ดิน บางส่วนไหลลงสู่แหล่งน้ำผิวดินและระบายลงสู่ชายฝั่งทะเลในที่สุด