dc.contributor.advisor |
วาสินี พงษ์ประยูร |
|
dc.contributor.author |
ธีระรัตน์ อุบลรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T04:16:38Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T04:16:38Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7579 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
ความเค็มจัดเป็นภาวะเครียดจากปัจจัยทางกายภาพและเป็นสาเหตุทำให้การเติบโตและผลผลิตของข้าวลดลงโดยเฉพาะข้าวเป็นพืชที่อ่อนแอต่อความเค็ม เนื่องจากความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวของไทยนับได้ว่าเป็นความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ให้ฐานข้อมูลของเชื้อเมล็ดพันธุ์โดยการคัดเลือกสายพันธุทนเค็มด้วยการคัดเลือกทางสรีรวิทยา วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาที่ระดับความเค็ม 2 (กลุ่มควบคุม), 4, 6, 8 หรือ 10 เดซิซีเมนต่อเมตร (dS m-1) ที่ระยะเวลา 0,7,14 และ 21 วัน ในข้าว 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข31 กข 41 และสุพรรณบุรี 1) เก็บข้อมูลการเติบโตปริมาณรงควัตถุที่เกี่ยวข้องในการสังเคราะห์ด้วยแสง ปริมาณโพรลีน และปริมาณโปรตีนในใบข้าวจากการทดลองพบว่า ต้นกล้าข้าวมีการ เติบโตและปริมาณรงควัตถุลดลง เมื่อความเข้มข้นของเกลือสูงขึ้นและระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อได้รับเกลือความเข้มข้น 6, 8 หรือ 10 dS m-1 เป็นเวลา 21 วัน มีอาการใบเหลืองไหม้และตายในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 เมื่อได้รับเกลือความเข้มข้น 10 dS m-1 เป็นเวลา 21 วัน มีการเติบโตน้อยที่สุดเปรียบเทียบกับข้าวสายพันธ์อื่นอย่างไรก็ตามข้าวพันธุ์ กข41 ยังสามารถเติบโตได้มากกว่าข้าวพันธุ์อื่น นอกจากนี้พบว่า ความเค็มสามารถชักนำให้มีการสะสมโพรลีนเพิ่มมากขึ้นในข้าวทั้ง 4 พันธุ์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข31 ที่ได้รับเกลือความเข้มข้น 10 dS m-1 เป็นเวลา 14 และ 21 วัน ตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลการเจริญเติบโตในข้าวพันธุ์ กข41 สามารถเติบโตต่อไปได้ในขณะที่ข้าวสายพันธุ์อื่นมีการเติบโตน้อยลงเมื่อได้รับเกลือโซเดียมคลอไรด์เป็นระยะเวลา 21 วัน เป็นไปได้ว่าข้าวพันธุ์ กข41 จัดเป็นข้าวพันธุ์ทนเค็ม |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ข้าว -- กล้า -- สรีรสิทยา |
|
dc.subject |
ข้าว -- กล้า -- การเจริญเติบโต |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา |
|
dc.title |
ผลของเกลือโซเดียมคลอไรด์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเติบโตและสรีรวิทยาของต้นกล้าข้าว (Oryza sativa L.) |
|
dc.title.alternative |
The effects of sodium chloride to growth nd physiologicl chnges of rice (Oryz stiv L.) seedlings |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Salinity is a member of abiotic stresses and caused a decrease in growth and plant production, especially in rice as a salt susceptible species. As a wide genetic resources of Thai rice varieties/cultivars could generate the germplasm database by physiological screening salt tolerant cultivars. The objective in this study was to investigate the physiological responses to salt stress at 2 (control; WP nutrient solution), 4, 6, 8 or 10 dS m-1 for 0, 7, 14 and 21 day in 4 rice cultivars including Khao Dawk Mali 105 (KDML 105), RD31, RD41 and Suphan Buri 1. Growth parameters, photosynthetic pigment contents, free proline and protein contents were quantified in rice leaves. Results indicated that rice seedlings growth and photosynthetic pigments showed a decrease during a higher concentrations and longer exposition of NaCl treatments in all rice cultivars. Especially, KDML 105 under NaCl treatment at 6, 8 or 10 dS m- 1 for 21 days leading to leaf chlorosis, burn and died. Suphan Buri 1 during salt stress condition at 10 dS m-1 for 21 days showed the lowest growth when compared to a control. However, RD41 rice was maintained growth better than other cultivars. In addition, salt stress induced gradually increase in proline accumulation in all 4 cultivars at different time intervals, especially in KDML 105 and RD31 under 10 dS m- 1 for 14 and 21 day, respectively. The result indicates that overall growth parameters in RD41 was remained while those in others rice cultivars were decreases during NaCl treatments on day 21 and could be efficiently used for identification of salt tolerant rice. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ชีววิทยาศึกษา |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|