Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ การเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ และการพัฒนา กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ฝั่งอันดามัน และศึกษาข้อเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ฝั่งอันดามัน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มเอกชน และกลุ่มองค์กรอิสระ เป็นการวิจัยลักษณะพหุกรณีศึกษาหลายพื้นที่ ใช้วิธีการวิจัย เชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพ การเปลี่ยนแปลง ผลกระทบ ได้แก่ ด้านสังคม ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ของครอบครัวและชุมชน การมีส่วนร่วมและความสามัคคี ผู้นำชุมชน ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การประกอบอาชีพเพื่อยังชีพสู่การค้าขาย การประกอบอาชีพดั้งเดิมสู่การประกอบอาชีพใหม่ ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย ประเพณี การแสดง ภาษา การแต่งกาย อาหาร ศาสนา เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ภูมิปัญญา ด้านการเมือง ประกอบด้วย นโยบาย กฎหมาย และด้านสุขอนามัยระดับบุคคลและชุมชน ข้อเสนอเพื่อการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม ได้แก่ 1.1) การสร้างความตระหนักทางการศึกษา 1.2) การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ 1.3) การจัดการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นด้านอาชีพ 1.4) การทำงาน แบบบูรณาการ 1.5) การสร้างทัศนคติและความเชื่อที่เหมาะสม 2) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ 2.1) การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับกลุ่มชาติพันธุ์ 2.2) การเสริมความรู้ด้านอาชีพที่เหมาะสม 2.3) ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ 2.3.1) การจัดทำพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ 2.3.2) การจัดการท่องเที่ยววัฒนธรรมชุมชน 2.3.3) จัดทำฐานข้อมูลวัฒนธรรมชุมชน 2.4) ด้านการเมือง ได้แก่ การจัดทำนโยบาย กฎหมาย ข้อกำหนด ที่เอื้อต่อวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ การทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นระบบและต่อเนื่อง การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข) และ 2.5) ด้านสุขอนามัย ได้แก่ การพัฒนาบุคคลและชุมชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2.5.1) ควรจัดพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษ 2.5.2) ควรจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ 2.5.3) ควรจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต 2.5.4) ควรจัดการศึกษาเฉพาะสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ และ 5) ควรมีนโยบาย กฎหมาย ข้อกำหนดที่เอื้อต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ 5.1) การจัดโครงการสอดคล้องกับบริบทชุมชน 5.2) ดำเนินงานอย่างเป็นระบบ