Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ข้อสอบและความสามารถของผู้สอบจากวิธีจัดการข้อมูลสูญหายด้วยวิธีประมาณค่าพหุ (Multiple imputation: MI) 2) ศึกษาผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีทดสอบอัตราส่วนความควรจะเป็น (Likelihood ratio Test: LRT) ดำเนินการศึกษาจากการจำลองข้อมูลภายใต้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบโลจิสติก ชนิด 2 พารามิเตอร์ (Two-parameter logistic model: 3PL) โดยการตรวจ ให้คะแนน 2 ค่า และจำลองข้อมูลภายใต้เงื่อนไขที่แปรเปลี่ยน 5 ปัจจัย คือ สภาวะการสูญหาย ของข้อมูล ขนาดกลุ่มตัวอย่าง อัตราการสูญหายของข้อมูล ความยาวของแบบสอบ และขนาด ของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จำนวน 32 เงื่อนไข (2x2x2x2x2) ในแต่ละเงื่อนไขจำลอง ข้อมูลวนซ้ำ 100 ครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีประมาณค่าพหุ พบว่า ภายใต้สภาวะ การสูญหายอย่างสุ่ม (MAR) และภายใต้สภาวะการสูญหายที่ไม่ใช่อย่างสุ่ม (MNAR) ตามเงื่อนไขในระดับเดียวกัน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) มีค่าใกล้เคียงกัน และค่าที่ได้ มีค่าสูงกว่าค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ ค่าความยากของข้อสอบ (b) ของกลุ่มอ้างอิง ค่าที่ได้ส่วนใหญ่สูงกว่าค่าความยากของข้อสอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ และค่าต่ำกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (q) ภายใต้สภาวะการสูญหายอย่างสุ่ม (MAR) ส่วนใหญ่มีแนวโน้มใกล้เคียงค่าความสามารถของผู้สอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ มากกว่า ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบภายใต้สภาวะการสูญหายที่ไม่ใช่อย่างสุ่ม (MNAR) ตามเงื่อนไขในระดับเดียวกัน 2. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) ด้วยวิธีทดสอบอัตราส่วน ความควรจะเป็น (LRT) สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ผ่านตามเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p < 0.05) แต่มีอำนาจการทดสอบ ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบต่ำ ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกเงื่อนไข