DSpace Repository

การจัดการข้อมูลสูญหายสำหรับประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบความสามารถของผู้สอบและการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author เขมิกา อารมณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:50Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7566
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ข้อสอบและความสามารถของผู้สอบจากวิธีจัดการข้อมูลสูญหายด้วยวิธีประมาณค่าพหุ (Multiple imputation: MI) 2) ศึกษาผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีทดสอบอัตราส่วนความควรจะเป็น (Likelihood ratio Test: LRT) ดำเนินการศึกษาจากการจำลองข้อมูลภายใต้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบโลจิสติก ชนิด 2 พารามิเตอร์ (Two-parameter logistic model: 3PL) โดยการตรวจ ให้คะแนน 2 ค่า และจำลองข้อมูลภายใต้เงื่อนไขที่แปรเปลี่ยน 5 ปัจจัย คือ สภาวะการสูญหาย ของข้อมูล ขนาดกลุ่มตัวอย่าง อัตราการสูญหายของข้อมูล ความยาวของแบบสอบ และขนาด ของการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จำนวน 32 เงื่อนไข (2x2x2x2x2) ในแต่ละเงื่อนไขจำลอง ข้อมูลวนซ้ำ 100 ครั้ง ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีประมาณค่าพหุ พบว่า ภายใต้สภาวะ การสูญหายอย่างสุ่ม (MAR) และภายใต้สภาวะการสูญหายที่ไม่ใช่อย่างสุ่ม (MNAR) ตามเงื่อนไขในระดับเดียวกัน ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) มีค่าใกล้เคียงกัน และค่าที่ได้ มีค่าสูงกว่าค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ ค่าความยากของข้อสอบ (b) ของกลุ่มอ้างอิง ค่าที่ได้ส่วนใหญ่สูงกว่าค่าความยากของข้อสอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ และค่าต่ำกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ (q) ภายใต้สภาวะการสูญหายอย่างสุ่ม (MAR) ส่วนใหญ่มีแนวโน้มใกล้เคียงค่าความสามารถของผู้สอบของข้อมูลที่สมบูรณ์ มากกว่า ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบภายใต้สภาวะการสูญหายที่ไม่ใช่อย่างสุ่ม (MNAR) ตามเงื่อนไขในระดับเดียวกัน 2. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) ด้วยวิธีทดสอบอัตราส่วน ความควรจะเป็น (LRT) สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ผ่านตามเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p < 0.05) แต่มีอำนาจการทดสอบ ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบต่ำ ไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดทุกเงื่อนไข
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การประมาณค่าพารามิเตอร์
dc.subject ข้อสอบ -- การประเมิน
dc.subject ข้อมูลสูญหาย (สถิติ)
dc.subject การประเมินผลทางการศึกษา
dc.subject ข้อสอบ -- การวิเคราะห์
dc.subject ทฤษฎีการประมาณค่า
dc.subject ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การจัดการข้อมูลสูญหายสำหรับประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบความสามารถของผู้สอบและการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ
dc.title.alternative A mngement of missing dt tretments for estimting item prmeters, person bility nd differentil item functioning
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to: 1) analyze the item parameters and an examinee’s ability through the treatment of the missing data with multiple imputation (MI), and 2) study the differential item functioning of the examination with the Likelihood Ratio Test (LRT). The study was conducted by simulating a two-parameter logistic model (2PL) on 2 values and setting up the data model under 5 variables including the conditions of missing the data, the sample size, the missing rate, the test length of the examination, the magnitude of DIF in 32 conditions (2x2x2x2x2) on an examination. Each function consisted of 100 replicates. The results were summarized as follows: 1. The item parameter estimated by multiple imputation (MI) were performed under missing at random (MAR) and missing not at random (MNAR) at the same level. The discrimination powers of the examination (a) was similar. The obtained value was higher than the parameter in the complete data. Although the obtained value on the difficulty of the test (b) in the reference group was greater than the parameter in the complete data, it was lower than the parameter in the complete data in the focal group. At the same level of MAR and MNAR, more item parameter estimates on an examinee’s ability () under MAR approached to parameter estimates in the complete data than those under missing not at random (MNAR). 2. The results of DIF with LRT could be used to control the type I error rate with the statistical significance at 0.05 (p <0.05), but all of the powers to find the DIF was lower than the criteria.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account