Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความสันโดษและการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสันโดษ เมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อที่ส่งผลต่อความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาวิธีการศึกษาศึกษาเป็น 2 ระยะ โดยใช้ผสมสานวิธี ระยะที่ 1 สัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 905 คน เครื่องมือวิจัยเครื่องที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้สถิติพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. โมเดลการวัดความสัน โดษและโมเดลการวัดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 = 0.17, 2 /df=1.26, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, GFI=0.99, AGFI=0.98, NFI=0.99, NNFI=1.00, CFI=1.00 และ 2 = 0.00, 2 /df=2.33, SRMR = 0.04, RMSEA =0.04 , GFI=0.97, AGFI=0.95, NFI=0.98, NNFI=0.98, CFI=0.90 ตามลำดับ) 2. โมเดลเชิงสาเหตุความสันโดษของนักเรียนเมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความสันโดษ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อม จากการรู้เท่าทัน สื่อการคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม การถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัว และการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 89 3. การทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนและการรู้เท่าทัน สื่อเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลทางตรงทางลบเท่ากับ -0.16 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการรู้เท่าทัน สื่อไม่มีอิทธิพลต่อความสันโดษของนักเรียน และเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อนกับการรู้เท่าทันสื่อ มีอิทธิพลทางตรงทางบวก เท่ากับ 0.18 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเทอมปฏิสัมพันธ์ทั้ง 3 โมเดลนี้อธิบายความแปรปรวนของความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 56, 70 และ 81 ตามลำดับ