DSpace Repository

ความสันโดษของเยาวชนไทย : การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและการทดสอบอิทธิพลปฎิสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
dc.contributor.advisor ประชา อินัง
dc.contributor.author กรรณิกา ไวโสภา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.available 2023-05-12T04:14:48Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7556
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดความสันโดษและการดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสันโดษ เมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อที่ส่งผลต่อความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาวิธีการศึกษาศึกษาเป็น 2 ระยะ โดยใช้ผสมสานวิธี ระยะที่ 1 สัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 905 คน เครื่องมือวิจัยเครื่องที่ใช้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยใช้สถิติพื้นฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ และทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. โมเดลการวัดความสัน โดษและโมเดลการวัดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนมัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2  = 0.17, 2  /df=1.26, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, GFI=0.99, AGFI=0.98, NFI=0.99, NNFI=1.00, CFI=1.00 และ 2  = 0.00, 2  /df=2.33, SRMR = 0.04, RMSEA =0.04 , GFI=0.97, AGFI=0.95, NFI=0.98, NNFI=0.98, CFI=0.90 ตามลำดับ) 2. โมเดลเชิงสาเหตุความสันโดษของนักเรียนเมื่อใช้ตัวแปรการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวแปรผล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้รับอิทธิพลทางบวกโดยตรงจากความสันโดษ และได้รับอิทธิพลทางบวกโดยอ้อม จากการรู้เท่าทัน สื่อการคิดแบบคุณค่าแท้-คุณค่าเทียม การถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัว และการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 89 3. การทดสอบอิทธิพลปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านกลุ่มเพื่อนและการรู้เท่าทัน สื่อเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลทางตรงทางลบเท่ากับ -0.16 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการถ่ายทอดทางสังคมภายในครอบครัวกับการรู้เท่าทัน สื่อไม่มีอิทธิพลต่อความสันโดษของนักเรียน และเทอมปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามทางสังคมในกลุ่มเพื่อนกับการรู้เท่าทันสื่อ มีอิทธิพลทางตรงทางบวก เท่ากับ 0.18 ต่อความสันโดษของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเทอมปฏิสัมพันธ์ทั้ง 3 โมเดลนี้อธิบายความแปรปรวนของความสันโดษของนักเรียนมัธยมศึกษาได้ร้อยละ 56, 70 และ 81 ตามลำดับ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แบบทดสอบ -- ความเที่ยง
dc.subject สันโดษ
dc.subject เพื่อน
dc.subject เยาวชน -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
dc.subject สื่อ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การดำเนินชีวิต
dc.title ความสันโดษของเยาวชนไทย : การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลและการทดสอบอิทธิพลปฎิสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านครอบครัว กลุ่มเพื่อน และการรู้เท่าทันสื่อ
dc.title.alternative Sntutthi of thi youth :bmodel vlidtion nd interction effects between fmily, peer group nd medi litercy
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of the research were to develop the measurement model of Santutthi or contentment and Philosophy of Sufficiency Economy, to examine the validation of the causal model of contentment in relation to Philosophy of Sufficiency Economy, and to test interaction effects of factors: family socialization, peer group conformity and media literacy, influencing contentment of Mathayomsuksa students. The study of the mixed-method research was divided into two phrases: the in- interview was conducted at the first phrase interviews with 8 related persons using concluded by the content analysis. The quantitative research was conducted at the second phrase to collect data from the research samples who 905 were Mathayomsuksa students under the Secondary Educational Service Area Office 19. The instrument of the research was the rating scale questionnaire. The quantitative data were analyzed through the SPSS for Windows in terms of the descriptive statistics. The confirmatory factors, the causal model and the interaction effects were analyzed through the LISREL model. The results of the research were found as follows: 1. The models of the contentment measurement and the measurement of Sufficiency Economy Philosophy-based life of Mathayomsuksa students were found to be in accordance with the empirical data, as seen from the following statistics 2  = 0.17, 2  / df=1.26, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.02, GFI=0.99, AGFI=0.98, NFI=0.99, NNFI=1.00, CFI=1.00 และ 2  = 0.00, 2  / df= 2.33, SRMR = 0.04, RMSEA =0.04 , GFI=0.97, AGFI = 0.95, NFI = 0.98, NNFI = 0.98, CFI = 0.90, respectively) 2. With Sufficiency Economy Philosophy-based life as a result variable, the causal model of Sufficiency Economy Philosophy-based life of Mathayomsuksa Students was found to be consistent with empirical data. Contentment conformity was found to be directly effective to Sufficiency Economy Philosophy-based life, and media literacy, true-value and artificial-value thinking, family socialization and peer group were found to be indirectly effective to contentment of the students, which was found to be predicted 89% of variances of the students’ Sufficiency Economy Philosophy-based life. 3. The test of interaction effects on three factors: family, peer group and media literacy, was found that (1) the interaction between family socialization and peer group conformity had the negative direct effect of -0.16 on the students’ contentment at a statistically significant level, (2) the interaction between family socialization and media literacy had not any effect on the students’ contentment, and (3) the interaction between peer group conformity and media literacy had the positive direct effect of 0.18 on the students’ contentment at a statistically significant level. In addition, the interaction of these three models was found capable to predict variances of the students’ contentment at the level of 56%, 70% and 81%, respectively.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account